สวัสดี

สวัสดีทุกท่านครับ เราจะเป็นสถานที่ๆรวบรวมบทความน่าสนใจที่สร้างมุมมองที่สดใหม่ในการลงทุน เพื่อลับความคมของการลงทุนให้เฉียบ คม เพื่อสร้างพอร์ตโพลิโอไปสู่เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แกะรอย บิล มิลเลอร์ : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์





บิล มิลเลอร์ ผู้จัดการกองทุน Value Trust แห่ง Legg Mason Capital Management ถือเป็นผู้จัดการกองทุนคนเดียวที่สามารถเอาชนะดัชนี S&P 500 ได้ติดต่อกันยาวนานที่สุดคือ 15 ปี (เขาเพิ่งจะเสียสถิติไปเมื่อปี 2006)

แม้ว่าเขาจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อยลงมากหลังจากที่เขาเสียสถิติไปแล้ว และผลงานของเขาหลังจากนั้นก็ยังคงดูไม่ค่อยดีนัก แต่วิธีคิดของผู้จัดการกองทุนคนเดียวที่เคยชนะตลาดติดต่อกัน 15 ปีได้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

(เนื้อหาต่อจากนี้ไปมีบางส่วนเป็นความเห็นต่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับความเชื่อที่มีอยู่เดิมของผู้อ่านได้)

บิล มีประวัติที่แปลกกว่าผู้จัดการกองทุนทั่วไป เขาไม่ได้เรียนมาทางการเงินเลย แต่เขาจบปริญญาเอกทางด้านปรัชญา ซึ่งเขาบอกว่า วิธีคิดแบบปรัชญามีอิทธิพลต่อวิธีการมองตลาดทุนของเขาอย่างมาก
เดิมที บิลไม่ได้ทำงานด้านการเงิน แต่เขาต้องไปรับส่งภรรยาของเขา ซึ่งทำงานอยู่ที่ Legg Mason ทุกวัน เขาจึงชอบไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดของบริษัท เมื่อประธานบริษัทเห็นเขาเป็นประจำก็เกิดความสนใจว่า ทำไมคนนี้จึงชอบใช้ห้องสมุดทางการเงินที่เขาอุตส่าห์สร้างขึ้นมาเพื่อหวังให้พนักงานบริษัทอ่านหนังสือมากๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แต่กลับไม่ค่อยมีพนักงานของบริษัทมานั่งอ่าน

เมื่อได้คุยกัน ก็ถูกใจในความคิดความอ่านจึงได้ชวนบิลมาทำงาน แล้วชีวิตของบิลก็เดินเข้าสู่วงการการเงินนับแต่นั้น จนกลายมาเป็นผู้จัดการกองทุน ที่มีชื่อเสียงระดับตำนานในเวลาต่อมา

บิล บริหารกองทุน Value Trust ซึ่งเขาบอกว่าเป็นกองทุนที่ยึดหลัก Value Investment แต่เขามักถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอว่าไม่ได้ใช้หลักการดังกล่าวจริงๆ เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ในพอร์ตเป็นหุ้นที่ตลาดมองว่าเป็น Growth Stocks เป็นส่วนใหญ่ (Amazon, Google, EBay, etc)

บิล แย้งว่า สำหรับเขา Value Investment คือการซื้อหุ้นที่เทรดต่ำกว่าคุณค่าของมันมากๆ ไม่ว่าหุ้นเหล่านั้นจะเป็นหุ้นอะไร ที่พอร์ตของเราถือหุ้นเทคโนโลยีไว้มาก เป็นเพราะเรามองว่า หุ้นเทคโนโลยีในปัจจุบันจำนวนมาก เป็นหุ้นที่ยังเทรดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันมาก

พีอีไม่ใช่สิ่งที่เขาใช้มองหาคุณค่า เขามองว่าพีอีใช้บอกคุณค่าได้แค่เพียงบางด้านเท่านั้น

เมื่อตอนที่เขาลงทุน ใน Dell เทรดที่พีอี 35 เท่า ในขณะที่ Gateway เทรดที่ 12 เท่า แต่บิลเลือก Dell เพราะในเวลานั้นธุรกิจของ Dell สร้างผลตอบแทนได้ 200% ของเงินลงทุนทุกปี (Return on investment) ในขณะที่ Gateway ทำได้แค่ 40% การที่ Dell เทรดสูงกว่า Gateway แค่ 3 เท่าทั้งที่สามารถสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุนได้สูงกว่าถึง 5 เท่า จึงแสดงว่า Dell เป็นหุ้นที่ undervalued มากกว่าเมื่อเทียบกับ Gateway

ในการหา intrinsic value บิลจะใช้หลายโมเดลเสมอเพื่อพิจารณาประกอบกันเสมอ แทนที่จะใช้ตัวชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งเพียงแค่ตัวเดียว

นอกจากการเลือกลงทุนแต่หุ้นที่ประเมินว่ายังเทรดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆแล้วเท่านั้น บิลยังอาศัยการมองธุรกิจโดยเน้นที่ภาพระยะยาวมากเป็นหลัก

บิล อธิบายว่า ”หุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว ราคาหุ้นมักจะผันผวนมากในระยะสั้น เพราะคุณค่าของมันขึ้นอยู่กับการเติบโตในอนาคต ราคาจึงอ่อนไหวกับความคาดหวังของตลาดมาก นักลงทุนจึงมักรู้สึกว่าเป็นหุ้นที่เสี่ยง แต่ที่จริงแล้ว หุ้นของบริษัทที่สามารถสร้างรายได้และกำไรให้เติบโตสูงต่อเนื่องเท่านั้น ที่ราคาหุ้นจะวิ่งไปได้ไกลที่สุดในระยะยาว มันจึงเป็นหุ้นที่น่าถือไว้มากที่สุด สำหรับ Growth Investor”

การลงทุนที่มองภาพในระยะยาวมากเป็นหลักทำให้ Value Trust เป็นกองทุนที่มีอัตราการเทรดที่ต่ำมาก คือประมาณ 20% ของทั้งพอร์ตต่อปีเท่านั้น (เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมในสหรัฐฯ ซึ่งเกิน 100% ต่อปี) บิลต้องการให้พอร์ตโตไปด้วยกันกับกิจการที่เขาลงทุน

ในการลงทุน บิล ไม่ให้ความสำคัญกับข้อมูล forecast เพราะ บิล เชื่อว่า forecast ที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด ถูก discount ไปในราคาหุ้นหมดแล้ว (if it’s in the newspaper, it’s in the price)

ข้อมูลเกี่ยวกับ forecast จึงเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถช่วยให้ชนะตลาดได้ บิลมองว่ากำไรในอีก 12 เดือนข้างหน้า มักไม่ค่อยมีผลต่อราคาหุ้นในวันนี้ เพราะตลาดมัก forecast ไปล่วงหน้า 12 เดือน กำไรในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะมีผลต่อราคาหุ้น ก็ต่อเมื่อกำไรที่ออกมาผิดจาก forecast ไปมากๆเท่านั้น

เขายกตัวอย่างว่า สมมติว่า IBM ถูกคาดหมายว่าจะกำไร $5 ในอนาคตอันใกล้ แต่พอถึงเวลานั้นจริงๆ หาก IBM กลับทำกำไรได้แค่ $3 บางคนอาจคิดว่าราคาหุ้น IBM คงจะลง แต่ปรากฏว่าราคาหุ้น IBM อาจปรับเพิ่มขึ้นถึง 50% เลยก็ได้ ถ้าหากตลาดคิดต่อไปแล้วว่าในช่วงเวลาถัดจากอีก 12 เดือนออกไป IBM จะกลับมามีกำไร $7 ปรากฏการณ์ในลักษณะเช่นนี้มีให้เห็นได้บ่อยๆในตลาดหุ้น

บิล เชื่อว่า ตลาดหุ้นไม่ได้มีประสิทธิภาพในแง่ที่ว่า ราคาหุ้นสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการตลอดเวลา แต่ตลาดหุ้นก็มีประสิทธิภาพสูงมากในแง่ของการซึมซับข่าวอย่างรวดเร็ว (informationally efficient)

หมายความว่า คุณไม่มีทางเอาชนะตลาดได้โดยการรู้ข่าวก่อนคนอื่น ผลกำไรส่วนเกินในตลาดหุ้นต้องมาจากการ exploit ความลำเอียงของตลาดซึ่งเป็นผลมาจาก Psychological Bias อันเป็นข้อบกพร่องของมนุษย์ ซึ่งกลไกตลาดไม่สามารถขจัดออกไปได้ (เพราะตลาดประกอบด้วยมนุษย์)

เขาจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่อง Bias ของมนุษย์มาก เพราะมองว่าคือหนทางสำคัญที่จะทำให้ชนะตลาดได้ เขายังเป็นประธาน SantaFe Institute ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกด้วย

บิลกล่าวว่า “วิธีเอาชนะตลาดนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ไม่ใช่แน่นอนคือ วิธีการลงทุนที่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ในตลาด”


แกะรอย บิล มิลเลอร์
นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

http://www.sarut-homesite.net/2011/04/%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2-%e0%b8%9a%e0%b8%b4%e0%b8%a5-%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99/

อุปนิสัยแห่งชัยชนะ ของนักลงทุน 23 ข้อ


ลองสำรวจลักษณะนิสัยนี้ดูครับ ว่าคุณเป็นนักลงทุนแบบไหน ?

นักลงทุนชั้นเซียน
นักลงทุนขี้แพ้
1
เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องรักษาทุนไว้ให้ได้ ถือเป็นหลักยึดแห่งการลงทุน
เป้าหมายเดียวคือ ทำเงินให้มากที่สุดจึงมักเสียเงินไปอยู่เสมอ
2
หลีกหนี ความเสี่ยง(อันเป็นผลมาจากอุปนิสัยแห่งชัยชนะ#1)
เชื่อว่ากำไรสูง ๆ มาจากความเสี่ยงสูง ๆ เท่านั้น
3
การสร้างปรัชญาการลงทุนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ซึ่งเป้นสิ่งที่บ่งบอกถึงบุคลิก ความสามารถ รสนิยม และเป้าหมายของตัวเอง ดังนั้น จึงไม่มีนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จคนไหนที่มีปรัขญาการลงทุนเหมือนกัน
ไม่มีปรัชญาการลงทุนของตัวเอง หรืออย่างมากก็ใช้ปรัชญาของคนอื่น
4
พัฒนาและทดสอบระบบ เฉพาะตัวในการเลือกหุ้น หาจังหวะเข้าซื้อและขาย
ไม่มีระบบอะไรทั้งนั้น หรือไม่ก็เอาระบบของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้ทดสอบหรือปรับให้เข้ากับบุคลิกของตัวเอง (พอระบบนั้นไม่ได้ผล ก็เอาระบบใหม่มาใช้ซึ่งก็ยังคง ไม่ได้ผลอยู่นั่นเอง)
5
เชื่อว่าการกระจายการลงทุนเป็นเรื่องของพวกกระจิบกระจอก
ไม่มีความมั่นใจที่จะลงทุนมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอะไรก็ตาม
6
เกลียดการจ่ายภาษี (และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ) จึงหาช่องทางตามกฏหมายเพื่อลดการจ่ายภาษีให้ได้มากที่สุด
มองข้ามหรือละเลยภาระภาษี และต้นทุนในการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้น จากการลงทุน
7
ลงทุนในสิ่งที่เข้าใจเท่านั้น
ไม่ตระหนักว่า ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ตัวเองทำ คือปัจจัยที่นำพาพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ แทบไม่ตระหนักเลยว่าโอกาส ในการทำกำไร จะอยู่เฉพาะในแวดวงของ(หรืออยู่ใกล้เคียงกับ) สิ่งที่พวกเขา มีความชำนาญเท่านั้น
8
ปฏิเสธที่จะลงทุนในสิ่งที่ ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุน ของตัวเอง และกล้าที่จะตอบปฏิเสธต่อสิ่งที่ไม่เกียวข้องอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ไม่มีเกณฑ์ในการลงทุนของตัวเอง หรือไปเองของคนอื่นมาใช้ ไม่สามารถปฏิเสธความโลภของตัวเองได้
9
มองหาโอกาศในการลงทุนใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ และเอาจริงเอาจังกับการวิจัยหาข้อมูลด้วยตัวเอง แล้วชอบที่จะฟัง เฉพาะนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ ผู้มีเหตุผลอันลึกซึ้งควรค่าแก่การนับถือ
มองหาโอกาส “1 ใน 1,000″ ที่จะทำให้เขาโชคดีเหมือนบุญหล่นทับ พวกเขาจึงชอบทำตาม ทีเด็ดประจำเดือนจากการฟังใครก็ตามที่ถูกยกให้เป็น ผู้เชี่ยวชาญโดยแทบไม่เคยศึกษาการลงทุนใด ๆ ด้วยตนเองก่อนที่จะลงเงินไปจริง ๆ ซึ่งการ วิจัยของพวกเขา หมายถึงการได้ทีเด็ดมาจากโบรกเกอร์ ที่ปรึกษาหรือไม่ก็หนังสือพิมพ์ฉบับเมื่อวาน
10
เมื่อเขยังไม่เจอการลงทุนที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของตัวเอง พวกเขาก็มีความอดทนพอที่จะรอไปอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าจะเจอ
รู้สึกว่าต้องทำบางอย่างในตลาดอยู่ตลอดเวลา
11
ลงมือทันทีเมื่อตัดสินใจดีแล้ว อยู่กับการลงทุนที่ทำให้ได้รับชัยชนะ
ผัดวันประกันพรุ่ง
12
จนกว่าเหตุผลสมควรให้ขายที่คิดไว้ล่วงหน้าว่าจะอุบัติขึ้น
ไม่ค่อยเตรียมกฏเกณฑ์ในเรื่องของกำไรไว้ล่วงหน้า มักกลัวว่าผลกำไรเล็กน้อย จะกลายเป้นขาดทุน จึงรีบขายเพื่อทำเงิน ทำให้พลาดโอกาศที่จะได้กำไรมาก ๆ อยู่เสมอ
13
ทำตามระบบของตัวเองด้วยความศรัทธา
ชอบหาข้ออ้างให้ตัวเองไปเรื่อยๆ เวลาไม่อยากทำตามระบบ (แม้มีระบบอยู่) โดยมักเปลี่ยนเกณฑ์ หรือ ลดเป้าเพื่อปลอบใจตัวเองว่าฉันทำถูกแล้ว
14
ตระหนักอยู่เสมอว่า ตัวเองทำพลาดได้ให้รีบแก้ไขเมื่อความผิดพลาดนั้นปรากฏชัดความเสียหายที่เกิดขึ้นก็แค่ขาดทุนเล็กน้อย
ยังถือการลงทุนที่ผิดพลาดไปเรื่อย ๆ โดยหวังว่า จะได้ทุนคืนจึงมักขาดทุนหนักอยู่เสมอ
15
มองความผิดพลาดเป็นประสบการณ์เสมอ
ไม่เคยใช้วิธีลงทุนใด ๆ ให้นานพอ จนสามารถเรียนรู้ที่จะปรับปรุงแต่กลับมองหา ยาวิเศษในการแก้ปัญหาอยู่เสมอ
16
เมื่อประสบการณ์เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ตอนนี้ใช้เวลาน้อยลงเพื่อทำเงินได้มากขึ้น เพราะได้ ลงทุนลงแรงไปแล้ว
ไม่เคยรู่สึกว่าต้อง ลงทุนลงแรงอะไร ไม่ค่อยเรียนรู้จากประสบการณ์
17
แทบจะไม่บอกใครเลยว่าตัวเองทำอะไรอยุ่ ไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับการลงทุนของเขา
ชอบโม้เกี่ยวกับการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ ชอบ ทดสอบการลงทุนของตัวเองด้วยการถามความเห็นจากคนอื่น แทนที่จะดูเอาจากความเป็นจริง
18
แบ่งหน้าที่รับผิดชอบบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับคนอื่น
เลือกที่ปรึกษาการลงทุนและผู้จัดการกองทุน ด้วยวิธีเดียวกับที่ตัดสินใจลงทุน
19
ใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตัวเองเป็นอย่างมาก
ใช้ชีวิตเหนือฐานะของตัวเอง(มีคนจำนวนมากมายเป็นเช่นนี้)
20
ทำงานที่ทำอยู่ เพราะงานนั้นทำให้กระชุ่มกระชวยและเติมเต็มชีวิตของเขา ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน
แรงผลักดันเกิดจากเงินเท่านั้น คิดว่าการลงทุนคือทางลัดสู่ความร่ำรวย
21
ผูกพัน (และพอใจ) กับ กระบวนการในการลงทุนสามารถปฏิเสธหรือล้มเลิกการลงทุนใด ๆ ได้ง่าย ๆ
หลงรักในสิ่งที่ตัวเองได้ลงทุนไป
22
หายใจเข้าออกเป็นการลงทุนตลอด 24 ชั่วโมง
ไม่ทุ่มเทเพื่อจะบรรลุเป้าหมายในการลงทุน (แม้จะรู้ว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร)
23
มีเงินของตัวเองอยู่ในสิ่งที่บริหารจัดการอยู่
การลงทุนไม่ได้ช่วยให้เขารวยขึ้นเท่าไรนัก ตรงกันข้าม สิ่งที่เขาปฏิบัติในการลงทุนมักส่งผลเสียต่อฐานะของตัวเอง เช่นการย้ายเงินส่วนอื่น ๆ อาทิ ผลกำไรจากธุรกิจ เงินเดือน เงินบำนาญ หรือโบนัสที่ต้องจ่ายให้พนักงาน มาเพื่อลงทุน (หรือชดเชยผลขาดทุน) ของตัวเอง

ที่มา: หนังสือ บัฟเฟต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ โดย Mark Tier ซีเอ็ดบุ๊ค


http://gdiblog.poonprang.ws/index.php/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/