เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา กระผมได้มีโอกาสไปฟังสัมมนารายการ Money Talk @ SET ในหัวข้อ ธรรมะ จิตวิทยา และกลยุทธ์การลงทุน เนื่องจากผมเห็นว่าเป็นวันศุกร์ทำให้หลายๆท่านที่ทำงานประจำไม่มีโอกาสได้ร่วมฟังสัมมนาจึงได้สรุปเนื้อหาคร่าวๆดังนี้
ธรรมะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนไหม ?
ดร.นิเวศน์ :
>>> จิตวิทยามีผลกับการลงทุน ในสมัยก่อน คนจะเชื่อกันว่านักลงทุนนั้นมีเหตุผลจึงเกิดทฤษฎี Efficient-market hypothesis (คนเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ)
>>> ในภายหลังมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น หุ้นตกแรงทำให้ attitude ของนักลงทุนเปลี่ยนไป
>>> หลังจากที่คนเปลี่ยนทัศนคติ นักวิชาการก็ศึกษาพฤติกรรมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวิชาต่างๆเช่น behavior finance หรือ psychology of investing เป็นต้น
>>> ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า ธรรมะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนไหม แต่มีนักลงทุนโลกท่านหนึ่งคือ John Templeton เป็นบุคคลที่เคร่งศาสนามาก และใช้ธรรมะช่วยในการลงทุน
คุณพีรยุทธ์
>>> ในตอนแรกเลยไม่ได้ศึกษาธรรมะ พอมีเงินแล้วรู้สึกว่าโลภ ใจไม่สงบ เอาจิตใจไปผูกกับหุ้น คิดเรื่องหุ้นตลอดเวลาแม้เวลาไปเที่ยว
>>> หัวใจของการลงทุนคือปัญญา
>>> หัวใจของปัญญาคือสมาธิ
>>> หัวใจของสมาธิคือสติ
>>> หัวใจของสติคือ วิริยะซึ่งก็คือความเพียรที่จะนำเอาสติไปจดจ่อ
>>> หัวใจของวิริยะคือศรัทธา เราจะเอาสติไปจดจ่อสิ่งหนึ่งๆได้ เราต้องมีศรัทธา มีความเชื่อในสิ่งๆนั้น
>>> หัวใจของศรัทธา คือ ปัญญา
>>> เราจะเห็นว่า เป็น cycle ไปเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายระดับ เราต้องพัฒนาครบทุกองค์ประกอบใน cycle แรกให้ได้ก่อน จึงจะสามารถพัฒนาขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ
>>> เวลาที่หุ้นตก หลักจิตวิทยาจะศึกษาว่า ทำไมหุ้นจึงตก แต่ธรรมะจะลึกลงไปอีกขึ้นคือ ศึกษาว่าจะแก้ยังไง
>>> ให้เวลากับหลายๆอย่างให้สมดุลกัน --หุ้น, ครอบครัว, เพื่อน,.....
>>> ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา บางทีเราอาจจะให้เวลากับบางอย่างมากเกินไป แล้วเกิดความทุกข์
>>> ธรรมะสอดคล้องกับธรรมชาติ
- เวลาที่สุนัขเดินผ่าน หรือ ใบไม้ตก หากหัวใจใฝ่ธรรมก็จะศึกษาธรรมะจากตรงนั้นได้
- ใช้ชีวิตโดยไม่ฝืนธรรมชาติ
- ถ้าอยู่ในสถานที่ที่สงบมากๆ จะสามารถศึกษาธรรมะแบบลงลึกไปในใจได้
- อิสรภาพ(ทางการเงิน)ช่วยให้มีเวลาศึกษาธรรมะ
จิตวิทยากับธรรมะเกี่ยวข้องกันไหม???
คุณพรชัย
>>> บางครั้งคนติดกับดัก ซึ่งเป็นกับดักแบบไม่รู้ตัว ทำให้ไม่เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในกับตัวเอง
>>> เราต้องมีสติ ถ้าโลภแล้วรู้ตัวอาจจะแก้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ตัว แย่แก้ไม่ได้
คุณพีรยุทธ์
>>> การกระจายการลงทุน ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวเดียวมากเกินไป ทำให้ใจสงบ
>>> ไม่ใช้มาร์จิน ใช้แล้วใจไม่สงบ
ดร.นิเวศน์
>>> ธรรมะอยู่ในใจผมตลอด เคยใส่จีวรไปลงทะเบียนเรียน (ฮาๆๆ)
>>> ปฎิบัติตามหลักท่านพุทธทาส ซึ่งมีหัวใจอยู่ 3 อย่าง
- ตัวเราของเรา : ถ้าใครไปยึดติดกับหุ้นมากๆจะทุกข์ ไอ้โน้นก็ของเรา แบบรำพึงในบ่วงบาป ทุกข์มาก
- ทุกอย่างเกิดจากเหตุ ไม่มีใครทราบ : ถ้าบริษัทดีจริง เดี๋ยวผลจะตามมา อาจจะช้าหน่อย อย่าไปยึดติดกับราคารายวัน
- ทางสายกลาง : อย่าสุดโต่ง เอาแต่พอดี (อย่าใช้มาร์จิน อย่าแทงตัวเดียว)
>>> สุดท้ายแล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อย่าไปยึดมั่นถือมั่น
คุณพรชัย
>>> คนชอบคิดไปเองว่า ถ้าตลาดไปทางไหนสักพักนึงนานพอ มันจะเป็นแบบนั้นไปตลอด (ซึ่งไม่จริง)
>>> over confident : จากการสำรวจพบว่า คน 80% จะคิดว่าตัวเองเก่งกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นไปได้ยังไงที่คน 80% จะเก่งกว่าค่าเฉลี่ย นี่แค่ภาวะปกติ ยิ่งภาวะตลาดกระทิง คนจะมั่นใจในตัวเองมากขึ้นไปอีก
>>> การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น : ปกติเราได้ 40% จริงๆมันก็เยอะแล้วดีใจ แต่พอเห็นคนได้ 50-60% เริ่มรู้สึกว่าตัวเองได้น้อย เครียด
>>> ช่วงตลาดบูม คนจะคิดว่าตัวเองเป็นเซียน เซียนเยอะแยะเต็มไม่หมดเลย เช่น ตอนช่วงเวลาทองบูม กูรูมาจากไหนไม่รู้เต็มไปหมด พอทองตก หายหัวหมด (ผมใช้คำนี้เอง เพื่อให้ได้อารมณ์ในการอ่าน)
>>> วางแผนล่วงหน้า โดยใช้เหตุผลในยามที่จิตสงบ เช่น เวลาที่มีคนทำเงินตก คนที่ไม่ใช่คนเก็บได้ จะบอกว่าถ้าเก็บได้จะคืน แต่พอเก็บได้จริงๆจะเริ่มไขว้เขว
ธรรมะกับจิตวิทยาสัมพันธ์กันไหม???
คุณพีรยุทธ์
>>> ธรรมะจะกว้างกว่า และเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาให้มีสติ รู้แจ้ง แทงตลอด
หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ หากท่านใดต้องการเพิ่มเติมก็เพิ่มได้เลยนะครับ
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ : ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐกว่า
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=55475
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น