อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า 14/10/55 [อ.โจลูกอีสาน/อ.ไพบูลย์]
บังเอิญว่าวันนี้ผมนำ notebook มานั่งทำงานกลุ่มเลยนั่งฟังไปจดบันทึกไปในคอม
นำมาแชร์ให้อ่านกันนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์
ส่วนของวันที่ 13/10 น่าจะมีเพื่อนๆท่านอื่นมาแชร์อีก
ไว้ผมทบทวนแล้วจะตามมาเสริมละกันครับ
การบริหารพอร์ตโฟลิโอและจิตวิทยาการลงทุน (คุณโจ ลูกอีสาน)
Topic การจัด portfolio
• การจัดพอร์ตมีความสำคัญเท่ากับ stock selection ถ้าจัดการไม่ดีมีโอกาสเสียหายชัดเจน
“อะไรก็ตามที่เสี่ยง อย่าทำ”
• พอร์ตอยู่ในชื่อคนอื่น Ex. ชื่อญาติ, แฟน(ภรรยา ยังพอไหว มีอะไรก็หารครึ่ง)
• การถือหุ้นตัวเดียว คนที่ถือคิดว่าไม่เห็นเป็นอะไร ถ้ามีปัญหาก็ขายทัน แต่บางเหตุการเช่น ผู้บริหารเสียชีวิต การตกแต่งบัญชีฉ้อฉล มันขายไม่ทัน ตลาดขึ้น SP เช่น SECC มีรุ่นพี่ที่ซื้อขายไว ไม่เคยติดหุ้น ถือหุ้นตัวนี้อยู่ 10 ล้านบาท ตลท.ประกาศ SP ตอนนี้ยังติดหุ้นตัวนี้อยู่เลย ซื้อขายไม่ได้
• ใช้เงินกู้ ใช้ Margin เป็นการทำให้เราอ่อนแอโดยไม่จำเป็น แม้คิดถูกก็อาจทำให้เราขาดทุนได้ เช่น เจอหุ้นตัวหนึ่ง 5 บาท มูลค่าแท้จริง 10 บาท เราซื้อเต็มที่ + margin ปราฏกว่าเราคิดถูกครับ มันไปที่ 10 บาทจริง แต่ระหว่างทาง 5 บาทมันลงไป 3 บาทก่อน โดน force sell ชีวิตการลงทุนจบเห่เลย
• Ex. มีพี่คนหนึ่งมาขอคำปรึกษา ซื้อหุ้นตัวหนึ่งลงไป 20%, ซื้อตัวเดียว, ใช้ margin, อีก 2 เดือนข้างหน้า(ต.ค.54) ต้องใช้เงิน หลังจากนั้นปรากฏโดนน้ำท่วม หลังจากนั้นผมก็ไม่เจอพี่คนนั้นอีก
• คนที่ทำสำเร็จก็มี แต่คนที่ตายไม่ได้มาพูด
การกระจายการลงทุน(ถือหุ้นหลายตัว)
• รับประกันได้ว่าเราไม่เจ๊งแน่นอน ถ้าถือหุ้น 5 ตัวแล้วผิดหมด ก็ไม่ต้องเล่นหุ้นแล้ว
• การถือหุ้นหลายตวสุดท้ายจะได้ค่าเฉลี่ย แต่ถ้าฝีมือดีผลตอบแทนก็จะดีกว่าตลาด
• หุ้นแม้จะมี upside 50% แต่มันไม่ได้ขึ้นพร้อมกัน หากเราเผลอไปคิดผิดซื้อหุ้นที่ต้องรอ 2-3 ปีกว่าจะขึ้น ผลตอบแทนจะแย่
• “ผมพอใจที่จะถูกพอประมาณ ดีกว่าผิดจังๆ” Anonymous
• จะมีพอร์ตที่ต่ำกว่ามูลค่าเสมอและขายหุ้นที่เกินมูลค่า
• ถ้าเป็นหุ้น Super stock อาจถือตลาดไปก็ได้
• สามารถลงทุนในหุ้น ขนาดกลาง/เล็กได้
• ขยายขอบเขตความรู้ ยิ่งรู้หุ้นมากเท่าไรก็ได้เปรียบ
ข้อเสีย
• ไม่ใช่วิธีที่ทำกำไรสูงสุด
• เสียเวลามากกว่าในการหาความรู้
• ต้องซื้อๆขายๆด้วย
พอร์ตควรมีหุ้นกี่ตัว
• มีเวลาติดตามหุ้นมาก ถือมากตัวได้
• “ต้องเข้าใจที่ไปที่มาของบริษัท ถ้าไม่เข้าใจอย่าซื้อเด็ดขาด”
• ในทุกกรณี ไม่ควรต่ำกว่า 3 ตัว ถ้าหุ้น 2 ตัว น้อยไปเก้าอี้ 2 ขาหักไปขาแล้วนั่งไม่ได้
• ขนาด 1 แสน – 1 ล้าน 3-5 ตัว
• 1 – 10 ล้าน 4-6 ตัว
• 10 ล้าน – 100 ล้าน 6-8 ตัว
ควรถือเงินสดในพอร์ตเท่าไร
• เมื่อก่อนผมถือ 100% แต่หลังจากเจอวิกฤติ ผมก็ถือ 10-15% เพราะไม่รู้ว่าโอกาสจะมาเมื่อไร เหมือน warren ที่ถือเงินเอาไว้ มีวิกฤติเมื่อไรได้ใช้ทุกครั้ง peter lynch ก็เหมือนกัน
• ถือเงินสดส่วนใหญ่ได้ หากไม่เห็นโอกาส
• การเก็งตลาด เข้าๆออกๆ ไม่ใช่ความคิดที่ดี ทางปฏิบัติทำได้ยาก วิกฤติ sub-prime พูดมา 2-3 ปีกว่าจะลง ถ้าเราคิดว่ามันจะลง แต่ไม่ลง แล้วขึ้นทำ new high วันแล้ววันเล่า ถามว่าการตกรถ เป็นวิกฤติหรือเปล่า? แถมเป็นวิกฤติที่เราสร้างขึ้นมาเองด้วย
พอร์ตที่พร้อมรับวิกฤติ (ถ้าจัดพอร์ตแบบนี้ไม่มีวันตาย)
• ต้องมีเงินสดอยู่เสมอไม่ต่ำกว่า 10%
• ไม่มีเงินกู้ (ทำให้พอร์ตอ่อนแอโดยไม่จำเป็น)
• Warren บอกว่า สิ่งที่ทำให้คนเปลี่ยนไป คือ เหล้า การพนัน ในแวดวงการลงทุนสิ่งที่ทำให้เราอ่อนแอที่สุด คือ หนี้ เพราะเจ้าหนี้ตอนฝนไม่ตกเค้ายื่นร่มมาให้เรา พอฝนตกเค้าดึงร่มกลับ
การซื้อเฉลี่ยขาลง
• ถ้ามี MOS อยู่ ก็แนะนำให้ซื้อ แต่พื้นฐานกิจการต้องไม่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น
• การทยอยซื้อเป็น step เพราะราคาอาจลงก็ที่เราคาด
• เมื่อเจอวิกฤติเศรษฐกิจ จำได้ตอนนั้นใจกล้า 10% เราเข้าไปซื้อแล้ว มันดันลงไป 40% มีดยังไม่ตกถึงพื้นอย่าไปซื้อ
• จะรู้ได้อย่างไรว่ามีดตกถึงพื้นแล้ว ต้องใช้ข้อมูล อย่าใช้อารมณ์ เข้าไปดูข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ P/BV ของตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 จุดนี้คือไม่ถูกไม่พอ เช่น ตอนนี้ 2.2-2.3 แพงพอสมควรแต่ยังไม่ฟองสบู่ ตอนวิกฤติ 40/ subprime ของ p/bv ตลาด เหลือประมาณ 1 เท่า ผมคิดว่าปลอดภัยสูงแล้ว
• PE เอากำไรปีเดียวมาคิด ถ้าเจอวิกฤติกำไรหายหมด แต่ PBV เป็นผลรวมของหลายๆปี ตั้งแต่ตั้งกิจการจะมีความผันผวนต่ำกว่า
• ต้องมีตั้ง limit ไว้ในใจเสมอ เช่น พี่โจ ต่อให้หุ้นดีแค่ไหนจะซื้อไม่เกิน 40% อาจมีสิ่งที่เราไม่รู้ หรือคิดผิด
ทำอย่างไร เมื่อเจอหุ้นตีแตก
• รีบซื้อให้เยอะที่สุด แต่ไม่เกิน 40%
พอร์ตควรกระจายหลายอุตสาหกรรมหรือไม่
• แน่นอน เป็นเรื่องที่ดี
• Ex. กระจายในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน บริษัทผลิตไบโอดีเซล พลังงานลม เอทานอล พี่งพาปัจจัยเดียวกันหมด ควรกระจายอุตสาหกรรมด้วย ไม่ใช่แค่บริษัท
• ถือกลุ่มเดียวกัน Ex. ค้าปลีก แต่เป็นค้าปลีก อุปโภคบริโภค ค้าหนังสือ ตกแต่งบ้าน แบบนี้ถือเป็นคนละอุตสาหกรรม
ถือหุ้นใหญ่หรือเล็ก
• ถ้าใครถามแบบนี้คือมี bias มันไม่ใช่ประเด็น
• ผมเคยได้ยินงานวิจัยใน us ว่าหุ้นตัวเล็กให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมอ
• หากหุ้นตัวเล็กผลตอบแทนดีกว่าแค่ 4% แต่ถ้าในระยะยาวมีผลมาก
• หุ้นตัวเล็กถูกละเลย คนติดตามมีน้อย
• หุ้นตัวเล็กโอกาสเติบโตได้มาก ตลาดยังไม่อิ่มตัว
• หุ้นที่กำลังเปลี่ยนสถานะ ex. สมมติหุ้นตัวนั้นเติบโตมาเรื่อยๆ กำลังจะเข้า Set100, set50 สถาบันซื้อได้ จะทำให้หุ้นขึ้นเร็วมาก
ดัชนีผลตอบแทนรวม 2518-2554 (37 ปี)
• หุ้น ขึ้น 80 เท่า (ตกปีละ 12% ทบต้น)
• พันธบัตร ขึ้น 25 เท่า
• เงินฝากประจำ 10 เท่า ในช่วง 10 ปีหลังขึ้นน้อยมาก ต่ำกว่าเงินเฟ้อด้วยซ้ำ
• ทองคำ 8 เท่า
• อนุภาพปันผล ถ้านำเข้าไปรวมอยู่ในดัชนีไทยจะอยู่ที่ 6000-7000 จุด
ทางเลือกในการสร้างพอร์ตการลงทุน
• หุ้นในผลตอบแทนสูงสุด แต่ความผันผวนสูงมาก
• พันธบัตร ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ hedging เงินเฟ้อได้ดีที่สุด
• เงินฝากผลตอบแทนต่ำกว่าเงินเฟ้อ ฝากไว้ขาดทุน และต่อไปรัฐบาลไม่ค้ำประกัน
• ทองคำให้ผลตอบแทนต่ำสุด แต่นำมาใส่ได้
• ที่ดิน สินทรัพย์ที่ supply จำกัด แต่ demand เพิ่ม จะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจระดับหนึ่ง
• บ้านเช่า/คอนโด ข้อดีบ้านเช่าคือได้ค่าเช่าด้วย ได้ที่ดินด้วย แต่คอนโดได้ค่าเช่า แต่มูลค่าเพิ่มน้อย ที่ผ่านมาคอนโดดี เพราะรถไฟฟ้ามากระจุกตัว แล้ว supply มันจำกัด แต่เมื่อไรที่รถไฟฟ้า 10 สาขา สร้างเสร็จ supply condo จะเพิ่มมาก ต่อไปจะไปปล่อยเช่าแพงก็ยาก
พอร์ตสำหรับคนทั่วไป
• ต่ำกว่า 40 ปี เน้นลงทุนหุ้นส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีเวลาให้ซื้อกองทุน LTF ที่ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีบลจ.บางแห่งที่บริหารได้ดี
• มากกว่า 40 ปี ไม่ควรมีหุ้นเกิน 60% ที่เหลือตามความถนัดและความชอบ
พอร์ตลงทุนเชิงรุก
• ลงทุนในหุ้นเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ระยะยาวผลตอบแทนดีสุด
• ถือหุ้นขนาดกลางและเล็ก
• เหมาะกับนักลงทุนอายุน้อย รับความเสี่ยงได้มาก
• เหมาะกับนักลงทุนที่อุทิศตัว เวลาให้กับการลงทุน
• หวังผลตอบแทน 25-30% ต่อปี
• ถ้าซัก 10 ปีน่าจะพอได้ แต่ยาวกว่านั้นจะยากแล้ว
• ตัวอย่างถือพอร์ต 7 ตัว ในหุ้นกลาง/เล็ก : siri, sat, ktc, kamart, bland, bigc, hmpro
พอร์ตลงทุนเชิงรับ
• ถือหุ้นไม่เกิน 50% กระจายลงทุนตราสารหนี้ ทอง อสังหา
• หุ้น blue ship กับ ขนาดกลาง
• เหมาะกับนักลงทุนมีอายุ
• ผลตอบแทน 10-15%
• ตัวอย่างถือพอร์ต 9 ตัว ในหุ้นใหญ่ : ptt, scc, advance, scb, bgh, cpf, cpall ,ratch, cpn
พอร์ตวัดดวง
• ลงทุนในหุ้นอย่างเดียว
• ใช้ leverage
• ถือหุ้นน้อยตัว
• มีเวลาเกาะติดข่าวสาร cut loss ได้ทัน
• เหมาะกับนักลงทุนที่ล้มได้
• หวังผลตอบแทน 50% ขึ้นไป
• ย่นระยะเวลาการลงทุน แต่ไม่ควรใช้นานเกินไป ธรรมชาติแจกการ์ดแห่งความโชคดีมาให้ เหมือนคนขับรถด้วยความเร็ว 200 km/hr ไปทำงานทุกวัน อาจมีอยู่วันอาจที่กลับไม่ถึงบ้าน
• ข้อดี บางคนเงินต้นไม่เยอะ ถ้าใช้วิธีธรรมดาผลตอบแทนไปช้า ถ้าเรารอดจะสามารถเริ่มต้นได้เร็ว
• ตัวอย่างถือพอร์ต 1 ตัว : siri-w2
ติดตามหุ้นอย่างไรจากหุ้นทั้งตลาด 550 ตัว
• ใครบอกผมรู้จักหุ้นเยอะ จริงแค่บางส่วน ผมเลือกติดตาม และละเว้นบางตัว
• หุ้นที่ผมไม่ติดตาม ไม่เข้าใจที่มาที่ไปกำไรของรายได้ ไม่สามารถหาข้อมูลได้ เช่น หุ้น sawang ต่อให้อ่าน 56-1 ผมก็ไม่รู้อยู่ดีว่าเค้าจะเติบโตยังไง
• ใครถือ ptt ผมถามว่ารายได้มาจากไหน ถ้าตอบขายน้ำมันไม่ใช่แล้ว ไม่มีผลเลย
• ไม่ลงทุนในหุ้นปั่น
• ไม่ลงทุนหุ้นไร้อนาคต อย่าเข็นครกขึ้นภูเขา สิ่งทอ รองเท้า
• ไม่ลงทุนหุ้นระเบิดเวลา สัมปทาน สัญญาชี้เป็นชี้ตาย เช่น rpc ถ้าปตท.ไม่ขายน้ำมันให้จบเลย , bts สัมปทาน, upoic มีสัญญาเช่าที่ดิน
• พวกสัญญาเหล่านี้ถ้ายังอีกนาน ก็ยังมีเวลาเก็บเกี่ยวกำไร ผลกระทบก็อาจลดลง แต่ถ้า rpc ชัดเจนว่าสัญญามีความเสี่ยงมาก
• ผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล สังเกตได้ว่า ราคาไปก่อนข่าวจะมา มี insider หรือ ราคาลงไปก่อน เกมพวกนี้เสียเปรียบ insider อยู่แล้ว
• ผู้บริหารไม่ค่อยให้ข่าว แบบนี้เราไม่รู้เสียเปรียบ
• Ex. หุ้นเสี่ย ก. พื้นฐานธุรกิจก็ใช้ได้ แต่ไม่เคยปันผล เพราะต้องเผื่อเงินไว้สำหรับธุรกิจ และอีกอย่างเก็บเงินไว้ในบริษัทไซฟ่อน ตัดค่าใช้จ่าย ซื้อขายสินค้าที่แพงกว่าความเป็นจริง ถ้าคนจะโกงยังไง กลต.ก็ช่วยไม่ได้ ง่ายที่สุดคือหลีกเลี่ยงดีกว่า
Do & Don’t
• ถือเงินสดบางส่วนเสมอ
• ลงทุนในหุ้นมากสุด
• ถ้าไม่มีความรู้ให้คนอื่นลงทุนแทน
• อย่าใช้เงินกู้
• อย่าถือหุ้นตัวเดียว
Q&A
• Q. ถ้าเจอหุ้นตีแตกบอกให้รีบซื้อ ทำไม? A. เมื่อไรที่เจอคือชัดเจนมาก ไม่ช้าก็เร็วต้องมีคนเห็นเหมือนเรา ถ้ามัวแต่ยึกยักต่อราคาช่องสองช่อง ถ้าไม่ได้ซื้อจะเสียโอกาสไป มันมีโอกาสน้อยมากๆอยู่แล้ว
• Q. ถ้าหุ้นบางตัวมีกำไรทางบัญชี แต่เก็บเงินได้ไม่ทัน ต้องกู้เงินมาจ่ายปันผล? A. SF, SVI อะไรแบบนี้ใช่ไหม ต้องดู interest ของผู้บริหาร ถ้ามีส่วนได้เสียกับเราเยอะ ก็อยากได้ปันผลเหมือนกัน ถ้า D/E ไม่สูงเกินไปก็ดูแรงจูงใจนี้ ถ้าไปทางเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย ก็ไม่มีปัญหา ต้องดูองค์ประกอบ หุ้นบางตัว DE สูง 3-4 เท่า ผู้บริหารอยากได้ปันผล แต่ถ้าปันออกมาแล้วบริษัทเจ๊ง ถ้าหนีสินไม่สูง GC, SCI ก็ปันออกมาได้
• Q. หากถือหุ้นในพอร์ต 5 ตัว ถ้าผลตอบแทนใกล้กับที่ประเมินเอาไว้ก็สลับหาหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าแทน แต่เราหาหุ้นที่พอใจไม่ได้ ระหว่างถือพอร์ตเอาไว้ กับ ถือเงินสด ทำแบบไหนดีกว่ากัน? A. ผมรู้สึกว่านรกมีหลายขุม สวรรค์มีหลายชั้น สิ่งที่เราคิดว่าเต็มมูลค่าอาจขึ้นกว่านั้นได้อีก ในภาวะที่ตลาดดี ราคาหุ้นจะเกิน fair value ได้เยอะ ผมเลือกถือมากกว่า ถ้าถือเงินสดได้ผลตอบแทนเงินฝาก 2-3% PE 30-40 เท่า ถ้าหุ้นเราไม่เกินนี้ก็ถือดีกว่า
• Q. ถ้าเป็นหุ้นเสี่ย จ. 5 ตัว ? A. ถ้าถือแบบนี้สอบตกนะครับ ถ้าราคาหุ้นเป็นเกมที่เราไม่รู้เรื่องอะไรเลยเราก็คือเหยื่อ
• Q. เรื่องไซฟ่อน ต้องดูอย่างไรดี? A. บ้านปู ผู้บริหารมีแรงจูงใจ run บริษัทไหม มี แม้ว่าตระกูลจะถือหุ้น 20% แต่ถ้าบริษัทเล็กๆ ผู้บริหารถือหุ้น 20% ผมไม่ไว้ใจแล้ว
• Q. ตลาด PBV 1.1-1.2 รับได้ไหม? A. ไม่มีปัญหา ผมจะพูดใน part หลังต้องซื้อเป็น step
• Q. การรักษาสัดส่วนเงินสดอย่างไร หุ้นมันต้องเติบโตขึ้นมาอยุ่แล้ว? A. ใช่ครับ ที่จริง 10% ไม่มีนัยยะหรอก ทางใจคือเป็นกระสุนนัดสุดท้ายที่เราเก็บเอาไว้
• Q. สมมติใน port มีหุ้น 5 ตัว ที่ perform และไม่ perform ตัวที่ไม่ perform ควรทำอย่างไรดี? A. สุดท้าย vi ก็ต้องกลับมาที่เหตุและผล ตอนซื้อเรามีเหตุผล ตอนขายก็ควรดูว่าเหตุผลที่เราซื้อถูกหรือเปล่า ผิดจากที่คาดไหม ถ้าดูแนวโน้มแล้วไม่มีโอกาสกลับมายังไงก็ต้องขาย จะเป็นต้นทุนเสียโอกาส หากมีหุ้นดีกว่านั้นทำไมต้องยึดติด
• Q. จุดไหนที่คิดว่านักลงทุนพร้อมจะเล่น margin แล้ว ถ้าไม่มีเงินสดแล้ว? A. ต้องแน่ใจ มีความมั่นคงอะไร รู้ว่าตอนไหนควรจะใช้ ตอนไหนควรจะเลิก ผมมีบัญชี margin แต่น้อยมาก 1% และไม่ค่อยได้ใช้ โดยทั่วไปช้าๆดีกว่า แต่ไปถึงเส้นชัย
• Q. ไม่ควรถือหุ้นตัวหนึ่งเกิน 40% สมมติผมถือหุ้น 40% ขึ้นไป 3-4 เด้ง ควรจะทำอย่างไร? A. เอาสัดส่วนตอนที่หุ้นยังไม่ขึ้น กองทุนมีกฏคือห้ามถือหุ้นเกิน 5-10% แต่มีกฏอนุโลมถ้าหุ้นขึ้นเกินตรงนั้นก็ถือได้
• Q. ภาวะดัชนี 1300 แบบ ตอนนี้ควรจัดพอร์ตอย่างไร แล้วช่วง subprime ปรับพอร์ตอย่างไร? A. ผมถือเงินสด 20% แต่ผมหาหุ้นที่ตีแตกแทบไม่มี แต่ไม่อยากเก็งตลาดว่าจะขึ้นลง เงินกู้ตอนนี้ไม่มี ตอน sub prime เป็นบทเรียนสำคัญ ก่อนนั้นผมมี margin ด้วย ราว 10% พอร์ต พอ subprime ลงเละเทะ เสียมากกว่าปกติ แถมไม่มีเงินสด โดนมัดมือมัดเท้าโยนลงน้ำ พอลงมาถึง 400 จุด ไม่สบายใจเลย ขายออกหมด หลังจากนั้นขึ้นมาตลาด ก็เลยรู้เลยว่าเราใช้อารมณ์ ความผิดพลาดก็เป็นบทเรียนเราต้องเรียนรู้ จดเอาไว้กันลืม เจอสถานการณ์จะได้ไม่ทำผิดซ้ำๆ
• Q. พอร์ตเชิงรับ เชิงรุก Hmpro เชิงรุก Cpall เชิงรับ ใช้หลักการอะไรในการแบ่ง? A. เกณฑ์ดูที่ขนาดของหุ้น เช่น BGH แทบจะกลืนกินประเทศไทย โอกาสที่จะทำรายได้กระโดดมากๆ น้อย แต่หุ้นเชิงรุกยังพอจะเติบโตได้ และเชิงรับรายได้กำไรความผันผวนจะต่ำมาก
• Q. ให้ขายหุ้นที่เกินมูลค่าออก คือมูลค่าที่คำนวณไว้ 1,3,5 ปีข้างหน้า? วิธีที่คุณโจใช้ประเมินมูลค่า? A. ส่วนใหญ่ผมมองกรอบ 1-2 ปี ไม่มากเกินไป แต่ 4-5 ปี ผู้บริหารยังยากเลย ผมใช้วิธีวัดง่ายๆคือ pe ไม่ใช่ pe 10 เป็นหุ้นแพง/ถูก ผมดูคุณภาพกิจการถูก วิเคราะห์ 5 force การเติบโต มากๆ pe ตลาด 13-14 เท่า ผมอาจให้เกิน 20 เท่า แต่รับเหมาผมอาจให้แค่ 8-9 เท่า และหา eps
• Q. criteria ที่ใช้ตีแตกพี่โจ มีอะไรบ้าง เช่น ต้องเป็น 2 เด้งใน 2 ปี หรือใน 3 เดือน แล้วความมั่นใจขนาดไหนในการตีแตก? A. 90% up สำหรับผมหุ้นตีแตกคือแทบไม่มีความเสี่ยงเลย upside อาจไม่มากมาย 40-50% ใน 1 ปี Ex. SF ซื้อหลังจากประกาศสร้าง mega bangna เพิ่มทุนเท่าตัว กว่าจะสร้างเสร็จช่วงนั้นคนลืมหมด ไม่สนใจมัน ผมเข้าไปดูโอกาสประสบความสำเร็จแทบ 100% ความเสี่ยง IKEA, ผู้บริหาร, upside 1 เท่าตัว อีกประมาณ 1-2 ปี ถึงจะเริ่มผมจะซื้อทันที ไม้สุดท้ายผม 3.04 แล้วเชื่อไหมครับ วิ่งไป 4 บาทกว่า ไม่ลงเลย
• Q. การเลือกหุ้นขั้นเทพแล้วถือยาวเลย กับ ซื้อหุ้นแล้วปรับพอร์ตไปเลือก แบบไหนดีกว่ากัน? A. ดร.นิเวศน์/คุณคเชนทร์ถือหุ้นตลอดไป แต่ผมถือหุ้น 1 ปีทำไมขายแล้ว พวกนี้ขึ้นกับทุกคนถนัดแบบไหน เราต้องถามตัวเอง ไม่ใช่ถามผม ที่ผ่านมาก็ยืนยันแบบนั้น ขึ้นกับมีเวลาติดตามไหมด้วย
Topic Phylosophy จิตวิทยาการลงทุน
• คนมีอคติให้ตัดสินใจผิด
ทัศนคติเพื่อประสบความสำเร็จ
• คนที่ประสบความสำเร็จไม่มีใครงอมีงอเท้า
• ต้องมีความฝัน ถ้าไม่มีก็เหมือนอยู่ไปวันๆ
• ต้องลงมือทำ ไม่งั้นเป็นฝันกลางวัน
• ต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่นด้วย
• ทุกคนมีใจเหมือนกันทุกคน แต่อะไรทำให้คนเราแตกต่างกัน นั่นคือมีใจยิ่งใหญ่เกินตัว เกินฐานะ
ทัศนคติการลงทุน
• ถ้าโชคดี เริ่มถูกทางไปถึงเป้าหมาย เริ่มผิดทาง ต่อให้ IQ สูงก็ไปไม่ถึง
• ไปเชียงใหม่ได้หลายทาง เลือกในเส้นทางที่ถูกจริต ถูกนิสัยเราดีไหม? ผมบอกว่าไม่ถูกต้อง บางทีจริตเราอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ดีกว่าไหม ถ้าเราปรับจริตเราให้ตรงกับวิธีที่ถูกต้อง ผมเชื่อว่าเล่นหุ้นจะมีวิธีการหนึ่งที่ถูกต้องในระยะยาว นั่นคือวิธี vi ข้อสังเกตวิธีการอื่นก็ดูสมเหตุสมผล technical บอกประวัติศาสตร์ต้องซ้ำรอย ผมถามว่าทำไมคนไม่รวยด้วยวิธีการนี้ เราต้องมาคิดว่า มันมีสมมติฐานอะไรบางอย่างที่ผิดก็ได้
• VI เราเลือกกิจการดีไม่พอ แต่เราซื้อที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า จะปลอดภัยมากกว่า ได้ผลตอบแทนมากกว่า
• ต้องมีความศรัทธาในการลงทุน ชีวิตการลงทุนมันยาวนาน ความเชื่ออย่างเดียวไม่พอต้องศรัทธาด้วย(ขนลุก) ผมเชื่อว่าถ้าเรามีศรัทธาจะผ่านวิกฤติไปได้ เราไม่ได้ศรัทธาอย่างงมงาย แต่ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล เราเห็นตัวอย่างคนประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ
เตรียมใจรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจะเกิดขึ้น
• มันจะเกิดขึ้นแน่นอน ไม่รู้ว่าวันไหน อุบัติเหตุนิวเคลียร์ แผ่นดินไหวรุนแรง น้ำท่วมใหญ่ โรคระบาดที่มีคนตายมากมาย ในการลงทุนจริงๆ อาจมีโอกาสเกิดได้ ลองคิดดูว่ามีวิกฤติอะไรเกิดขึ้นได้ บางอย่างอาจนอกเหนือจากที่เราคิดได้ อย่างเช่น อิสราเอลโจมตีอิหร่าน แล้วอิหร่านตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์ แล้วสหรัฐร่วมด้วย ซึ่งนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ผลลัพธ์ยาก หรือที่ซาอุฯ มีไวรัสระบาด มันก็น่ากลัว
• ผมว่าในการลงทุนต้องมองตามความเป็นจริง ไม่ได้บอกให้ทุกคนกังวลใจ แต่ต้องเตรียมใจ
วิธีการเอาชนะความโลภ ความกลัว
• เราซื้อเพราะอะไร? เหตุผลทางพื้นฐานสมเหตุสมผล นั่นถูกต้อง
• เราซื้อเพราะอะไร? ซื้อตาม yoyo ซื้อตามพี่โจ ไม่ถูกต้อง นั่นคือโลภ
• ในตลาดหุ้นมีรถออกทุกวัน มีหุ้นปั่นทุกวัน
• หุ้นปั่นจะทดสอบเราว่ายึดมั่นในหลักการหรือเปล่า หรือโดนความโลภชักจูง
• เราไม่สามารถคว้าทุกโอกาส แต่ต้องเลือกโอกาสที่เรามั่นใจ โอกาสอื่นๆก็แบ่งกันไป
• มองระยะยาวจะทำให้ชนะความโลภความกลัวได้ ระยะยาวตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 12%
• อย่าหวังผลสั้นๆ ที่จะรวยมองไปเลย 10-20 ปี
• อิงกับตัวเลข วัดค่าได้แน่นอน
• ตอน sub-prime หุ้น pe 3-4 เยอะเลย ไม่มีเหตุผลที่จะขายหุ้น
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
• แม้ผลตอบแทนระยะยาว 12% ทบต้นก็จริง แต่ความผันผวนเยอะ มีขึ้นมีลง
เอาชนะความผันผวน
• ห้ามเป็นส่วนหนึ่งของนายตลาด คนเล่นหุ้นรวยหมดแล้ว ถ้าแยกตัวเองออกจากนายตลาดได้
จิตวิทยาการซื้อ
• ถ้าเป็นหุ้นดีจริงๆ ไม่ช้าก็เร็วต้องเป็นคนเห็นเหมือนเรา ผมเคยต่อราคาช่องสองช่อง เสียหายมากมาย หรือแม้กระทั่ง warren เคยซื้อ wal-mart ราคากระโดดขึ้น แล้วก็ไม่กล้าซื้อ เสียหายไปหลาย billion
• ฆ่าควาย อย่าเสียดายเกลือ ไม่งั้นเนื้อควายจะเน่าหมด เกลือถุงหนึ่ง 3-4 บาท
• มองภาพใหญ่ อย่าใส่ใจภาพเล็กๆ ผมเคยคุยกับเซียนท่านหนึ่งจะซื้อหุ้นถ่านหิน ภาพการเติบโตอะไรดีหมด ผมเป็นคนหนึ่งที่ซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ขึ้น 2 เท่ากว่า แต่เซียนคนนั้นเห็นเหมือนผมแต่ไม่ซื้อ เค้าพลาดเพราะมองภาพเล็ก ดีทุกอย่าง แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ซื้อขายหุ้นบ่อย ดูไม่น่าไว้วางใจเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย
• หุ้นที่ดีพร้อมไม่เคยมี ผมสามารถหาข้อเสียของหุ้นทุกตัวได้ ต้องมาชั่งน้ำหนัก อย่าพลาดเพราะอคติ
• ทยอยซื้อ หุ้นขึ้นกำไร หุ้นลงมี mos มากขึ้น
จิตวิทยาการขาย
• หุ้นทุกตัวที่ผมขายไม่เคยมีประวัติว่าขายได้ราคาสูงสุด ขึ้นไป 1-2 เท่าเยอะมาก เลยต้องจำไว้ว่าทยอยขาย 1/3-1/3-/1/3 บางครั้งหุ้นมี momentum มากกว่าที่เราคาด จากประสบการณ์
• Vi มักจะซื้อก่อน ขายก่อน เป็นเรื่องปกติ เวบในเมืองนอกของฝรั่งก็ประสบปัญหานี้ทั้งนั้น
• อย่าง warren ขาย sinopec แล้วก็ยังขึ้นอีกหลายเท่า
• เหตุผลที่ซื้อเพราะอะไร ถ้ามันเสียไป อย่ารีรอ ต้องตัดอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
• การขายหมูเจอกันทุกคน แม้ดัชนีจะขึ้นไปสูงสุดวันนี้ แสดงว่าคนที่ขายหุ้นที่ผ่านมาเป็นการขายหมูใช่ไหมครับ ถ้าไม่อยากขายหมูก็อย่าขายหุ้น
รับมืออย่างไรเมื่อหุ้นตก
• ต้องปีนกำแพงความกลัวด้วยเหตุและผล ตัวเลข
• พื้นฐานแย่ลง มีเท่าไรก็ขาย อย่าให้ความเสียหายลุกลาม
• ถ้าพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง เกิดจากผลกระทบระยะสั้น นื่คือโอกาสซื้อ
• วิกฤติร้ายแรง อย่า sub-prime หรือ ปี 40 หุ้นตกทั้งตลาด วิธีง่ายที่สุดคือไม่ต้องทำอะไร ยิ่งทำยิ่งเสียหาย แต่… ห้ามขายหุ้นทิ้งตอนตลาดตกต่ำ เพราะผมเคยทำมาแล้ว ช่วงวิกฤติผมขาย margin ถือเงินสด 10% เสียหายมากเหมือนกัน
• เอาชนะความกลัวด้วยตัวเลข
สนามหญ้าบ้านอื่นเขียวกว่าบ้านเราเสมอ
• เราดีใจทำผลตอบแทนได้ 100% แต่เพื่อนบอกว่าได้ 150% ความรู้สึกเปลี่ยนไปเลย
• มีคนค่อนแคะการลงทุนแบบ vi ไม่ได้บอกจังหวะการซื้อ ต้องใช้ technical ลงทุน vi ต้องมีวินัยสูง ทำไมไม่ใช้ระบบเทรดหุ้น หุ้นลงจะถือทำไม
• อย่างที่ผมเล่า vi ระยะยาวเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ระยะสั้นหุ้นลงจะมีคนมาค่อนแคะเราเสมอ
• เรื่องแบบนี้ฟังดูดีทุกอย่าง ในเมื่อผลมันออกมาแล้ว ถ้าหากวิธีการของคุณดีมากเลย ทำได้ต้องรวยที่สุดในประเทศไปแล้ว ทำไมทำไม่ได้
• คนที่อิจฉาคนอื่นใจมันร้อนรุ่ม คนที่ชอบกิน แม้จะอ้วน แต่ตอนกินก็มีความสุข แต่คนอิจฉามันไม่มีส่วนไหนที่มีความสุข
• ใครที่มาแขวะอย่าไปโกรธเขา ถือว่าคนเหล่านี้เค้าอิจฉาเรา คนจะอิจฉาเพราะเราเก่งกว่า ไม่ต้องไปตอบโต้อะไรให้วุ่นวาย
การยึดมั่น อัตตา อีโก้ น้ำที่เต็มแก้ว
• Vi เล่นหุ้นแล้วขาดทุนไม่เป็น vi ต้องได้กำไร เป็นพวกไม่ยอมรับความคิดใหม่ๆ เป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า? ผมบอกได้เลยว่ามีส่วนจริง เพราะหลักการเราถูกต้อง ทุกแนวทางก็คิดว่าหลักการของเขาถูกต้องเหมือนกัน สิ่งสำคัญคือ vi มันยืนอยู่บนเหตุและผล ที่สำคัญคือมีคนพิสูจน์มาแล้ว
• ในชีวิตจริงในสังคมเราต้องประนีประนอม แต่ในการลงทุนไม่ใช่ ผมยึดในหลักการ ในระยะยาวเราเจอวิกฤติแน่นอน ถ้าเราเชื่อเพียงครึ่งใจ เราไม่รอดแน่ จะโดนทดสอบในวันที่เลวร้าย มีสิ่งเดียวที่จะยึดคือหลักการ
อคติ (Bias)
• ทำไมคนเราเกิดอคติ ? เพราะใช้อารมณ์ รัก เกลียด กลัว
• บางครั้งอคติ เพราะไม่รู้ ไม่ขวนขวาย
อคติเมื่อซื้อหุ้น
• ซื้อหุ้นเพราะผู้บริหารหน้าตาดี
• มีนักวิจัยบอกว่าครึ่งหนึ่งแรงขับดันของมนุษย์คือแรงขับดันทางเพศ เราอยากได้การยอมรับจากเพศตรงกันข้ามก็เป็นไปได้
• ซื้อหุ้นเพราะผู้บริหารปฏิบัติดี ไปประชุม เลี้ยงโต๊ะจีน คุยกับเราดี
• อย่าหลงประเด็น ผู้บริหารดี กับ บริษัทดี ต้องดูด้วยว่าผู้บริหารทำได้ตามที่พูดหรือเปล่า เช่น คุณ ส. ไอหลิ่ง ฟังพูดเคลิ้มเลย แต่ออกมาคนละเรื่อง
• คิดว่าคนส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์ ใช้ชีวิตเหมือนเรา
• เราเล่นหุ้น ไม่ได้เล่นการเมือง เสื้อแดง เสื้อเหลือง ธุรกิจก็คือธุรกิจ
• ชาตินิยม เช่น จะซื้อหุ้นของคนไทย ไปซื้อกิจการต่างประเทศ อย่าง ยูนิคอด จีเอฟ เป็นไฟแนนซ์บริษัทเดียวที่ไม่มีใครหนุนหลัง อัลฟ่าเทค เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ปรากฏว่าทั้ง 3 บริษัทนี้เจ๊งหมดเลย นี่คือใช้เหตุผลผิดในการซื้อหุ้น
• ซื้อเพราะอยากติดรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ถ้าไม่ได้เป็นบริษัทที่ดี อะไร
• ซื้อเพราะกลัวตกรถ หุ้นเสี่ย จ. อยากลองบ้าง เป็นเหตุผลผิดๆ
• ซื้อเพราะเป็นธุรกิจบุญ/บาป มันขึ้นตามกำไร ไม่ได้ขึ้นกับธุรกิจทำให้สังคมเสียประโยชน์ อย่างหุ้น ฟิลิปมอร์ริส ผลิตบุหรี่ มีคดีความเยอะแยะ กองทุนก็ไม่กล้าซื้อ ปรากฏว่าตัวนี้เป็นหุ้นหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในตลาดอเมริกา
• บางครั้งคนเราก็ต้องมีอคติเพื่อความภาคภูมิใจของตัวเอง ขึ้นอยู่กับดีกรีของแต่ละคน เช่น อาบอบนวดเข้าตลาด ผมก็ไม่ซื้อเหมือนกัน เป็นความเชื่อของแต่ละคน
อคติเมื่อถือหุ้น
• ซื้อหุ้นเหมือนเราแต่งงาน มองเห็นแต่ด้านดี มองข้ามข้อเสียไป
• เมื่อไรที่เราขายหุ้นไป ตาสว่างเห็นข้อเสียเพียบเลย
อคติเมื่อขายหุ้น
• หุ้นขึ้นมาเท่าตัวขายไปครึ่งหนึ่งเอาทุนคืน เท่ากับที่เหลือไม่มีต้นทุน ไม่มีกฏข้อไหน ที่ผมอ่านหนังสือเจอมา เป็นการตั้งตัวเลขเอง บางตัว upside 300-400% ก็มี
• ขายเพราะขึ้นมาเยอะ เจอบ่อย mos ลดลงก็จริง แต่ถ้ามันสูงอยู่ก็ไม่ต้องขาย
• ไม่ขายเพราะอยากเห็นพอร์ตเขียว
• ไม่ขายเพราะผูกพัน เช่น ผมมีหุ้นตีแตกที่ทำให้ผมมีเชื่อเสียงระบือ ได้ผลตอบแทนเยอะจะเกิดความผูกพัน แม้ upside จะไม่มีแล้ว นั่น คือเราโดนอคติเล่นงาน
• ไม่ขายเพราะมีต้นทุนต่ำ เช่น ถือหุ้น ptl, sta ซื้อตอน sub-prime ต้นทุนต่ำมาก ปรากฏถือ 2-3 ปี วัฏจักรมันบูมมาก ปรากฏว่าพี่คนนี้รวยเละ เจอครั้งล่าสุดขายไปหรือยัง เค้ายังไม่ขายซักหุ้น เพราะมีต้นทุนต่ำ
การแสวงหาความภาคภูมิใจ หลีกเลี่ยงความเสียใจ
• นักเล่นหุ้นทั่วไป เขียว 2-3% เป็นขาย แต่ตัวขาดทุนเมื่อไร ไม่ยอมขาย แพ้ไม่ได้ ดังนั้นพอร์ตคนคิดแบบนี้จะมีแต่ติดดอย เด็ดดอกไม้ รดน้ำวัชพืช
• ไม่ขายไม่ขาดทุน หลอกแม้กระทั่งตัวเอง
• VI ทมิฬ คืออะไร ลอกหุ้นตามเซียน ไปซื้อหุ้นตอนราคาสูงๆ แล้วขาดทุน ก็ไปโทษคนอื่น คนที่คอยแต่จะโทษคนอื่นตลอดเวลา ไม่เคยคิดว่าตัวเองผิด เป็นคนที่เห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ในการลงทุนคนที่ไม่เคยเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ไม่มีทางเจริญ
• Sunk cost มีน้องโพสต์ในร้อยคนร้อยหุ้นถือ xxxมา 5 ปี จะถึงจุดสิ้นสุดแล้วล่ะ ผมจะรอดูจนถึงวันสุดท้ายที่มันจบ น้องคนนี้เสียเวลามา 5 ปี ถ้าคุณถือหุ้น 10 ปี ได้ผลตอบแทนเท่าตัว ผมคิดว่าน้อยมาก ถ้าหุ้นบางตัวกำไร 5% ใน 3-4 วัน คิดเป็นต่อปีเสียหายมหาศาล
การคำนึงถึงอดีต
• เงินของเจ้ามือ (House – money effect) เมื่อได้กำไรมา เราคิดว่าเป็นลาภลอย ไม่ใช่เงินเรา แต่ที่จริงกำไรตรงนี้คือเงินเรา เงินมีค่าเสมอ เราไปแยกว่าเป็นเงินต้นทุน กับ กำไร ที่จริงมันก็คือเงินเราเหมือนกันหมด พอเอาเงินจากกำไรมากๆ ไปซื้อหุ้น สุดท้ายของแพงๆเราก็จะซื้อ เป็นจุดเริ่มต้นฟองสบู่
• ตอนวิกฤติ pe 2,3 หรือ 1.5 ยังมีเลยครับ ทำไมไม่มีคนซื้อ? มันเกิดเรื่องความกลัวความเสี่ยง ไม่มีใครอยากขาดทุนอีก ถูกยังไงก็ไม่กล้าซื้อ
• มีบางคนเสียไปแล้ว แทนที่จะเข็ด กลับพยายามทำอีกแบบคือเอาทุนคืน พอเราแพ้มากๆ จนไม่รู้จะเอาเงินคืนอย่างไร จะ double ไปจนพนันหมดหน้าตักเพื่อเอาทุนคืนแล้วเลิก
• การคำนึงถึงอดีต ยึดราคาสูงสุด/ต่ำสุด anchoring bias เป็น technical ใช้การฟอร์มตัวราคาอดีตคาดการณ์อนาคต สมมติฐานนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ เหตุการณ์มันเป็นอิสระต่อกัน
• เช่น บ้านปู เคยไปถึง 800 ถ้าถือยาวไม่มีวันขาดทุนหรอก อาจจะจริงครับ แต่เกิดต้นทุนเสียโอกาส อีกอย่างวันนี้มี shale gas นะ หรือ ทีทีเอ เคยไปถึง 70 กว่าบาท ตอน BDI สูงๆ ต้องดูว่าพื้นฐานเปลี่ยนไปหรือเปล่า
ความมั่นใจเกินไป
• ถือหุ้นตัวเดียว ใช้ margin เค้าคิดว่าจะหนีทันนะ แต่วันหนึ่งจะเกิด black swarm
• แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ nobel prize จัดตั้งกองทุนที่มี Model ไม่มีข้อผิดพลาดเลย ใช้ leverage สูง arbitrage แต่ตอนที่เค้าขาดทุน เพราะเกิดเหตุการณ์ไม่อยู่ใน model ภายใน 1 เดือน กองทุนนี้เจ๊ง ชื่อเสียงที่สั่งสมมาจบทันที
พฤติกรรมแบบฝูง
• คนที่อยู่ในก๊วนจะมีความคิดคล้ายๆ กัน แตกต่างจะโดนเฉดหัวออก
• สมมติมีพวกเราคนหนึ่งโนเนม ไปโพสต์ในร้อยคนร้อยหุ้น คนที่เข้าไปอ่านดูเหตุผลก็ดี นะ แต่เค้าเป็นใครไม่รู้ แต่พอมีคนเข้ามาให้ความเห็นสนับสนุน จะเริ่มลังเล จะเชื่อแล้ว ต่อไปถ้ามีคนบิ๊กเนมหน่อยมาโพสต์อีก คนอ่านหลังๆจะเชื่อแล้ว
• เรื่องในสังคม… ดอกทิวลิป จตุคามรามเทพ หลินปิง เสื้อเหลือง เสื้อแดง น้ำหมักป้าเช็ง
• ในสังคมหุ้น… หุ้นดอทคอม(ต่างประเทศ) หุ้นไฟแนนซ์(สมัยก่อน) หุ้นค้าปลีก(อาจจะสมัยนี้)
• เรื่องจิตใจ เอาชนะด้วยเหตุและผล ด้วยตัวเลข
• คนที่ไม่โอนอ่อนไปกับความเห็นคนอื่น จะโดนเยาะเย้ย จำได้ตอนหุ้นตกๆ มีคนเยาะเย้ย vi ตายหมดแล้ว กอดหุ้นจนตาย
• เราถูกเพราะเหตุผลเราถูก ไม่ใช่ถูกเพราะคนส่วนใหญ่ทำกัน
ซื้อหุ้นตามเซียน
• เซียนหุ้น เป็นจิตวิทยาตัวแทนความสำเร็จ ซื้อตัวไหนก็ขึ้น สมองคนเราเลยหาทางลัดไปซื้อหุ้นตามเซียนดีกว่า วิธีนี้ไม่มีทางประสบความสำเร็จในระยะยาว จะเป็นไปได้อย่างไรที่เราจะลอกหุ้นจากเซียนทุกครั้ง ถ้าไม่ได้เป็นแฟนเซียน และเซียนก็คิดผิดเหมือนกัน แต่เค้าไม่ได้มาบอกเรา
• ทางที่ดีกว่าผมสนับสนุนให้เราหาปลาเอง เพราะมันอยู่กับตัวเรา เป็นการทบต้นความรู้ มันเยอะยิ่งกว่าทบต้นเงิน
ความคุ้นเคย
• มีหลายๆตัวเป็นหุ้นไม่รู้จัก คนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าหุ้นใหญ่ๆไม่เจ๊ง หรือหุ้นที่เห็นสินค้าหรือได้ใช้บริการ
• ผมมีเพื่อนซื้อ LTF ทุกสิ้นปี ของธนาคารสีม่วง ซึ่งผลประกอบการห่วยแตกมาก ต่างเป็น 10% หลายปีต่อกัน สุดท้ายผลตอบแทนคนละเรื่อง ถ้าจะซื้อทำการบ้านหน่อย
การมุ่งเน้นระยะสั้น
• นักลงทุน VIVI มองสั้นๆ ราคาผันผวน แผนบางอย่างประกาศตั้งนานแล้ว มองสั้นๆเก็งกำไรราคา ระหว่างรอราคาหุ้นซบเซา เป็นโอกาส
• Ex. 14/5/55 ประกาศผลประกอบการผลประกอบการลดลง ราคาหุ้นลดลง 11% และ 4 วันหลังยังลดลงต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบชั่วคราว เพราะบริษัทมีปัญหางดปล่อยสินเชื่อชั่วคราว ถ้าศึกษาดีๆจะพบว่าหนี้สินต่อทุนเยอะ ถ้าไปประชุมผู้ถือหุ้นอะไรจะรู้ว่าโตได้เยอะ ปรากฏว่าผ่านไป 4 เดือน หุ้นขึ้นไปเกือบ 2 เท่า ไม่รวมปันผลและ warrant ที่ได้ฟรี
Do and Don’t
• ศรัทธาในอุดมการณ์
• มีความฝัน
• เหตุผลเอาชนะทุกคอคติ
• บันทึกความสำเร็จ และความผิดพลาด
• อย่าขายหุ้นตอนตลาดตกต่ำ
• อย่ารีรอเมื่อเจอหุ้นตีแตก
• อย่าอิจฉาคนอื่น
สรุป
• การจะรวยต้องอาศัยกำลังใจค่อนข้างเยอะ ถ้าทำง่ายๆทุกคนรวยหมดแล้ว
• ถ้าแรกผลักเหมือนบั้งไฟไม่นานก็รีบ แรงถีบเหมือนกระสวยอวกาศเปลี่ยนชนชั้นจากจนเป็นรวยได้
• ผมเคยเห็นคนที่ซื้อรถเบนซ์ต้องหาเงินหลายหมื่นไปผ่อนรถคันนี้ หรือไปซื้อน้ำมันเถื่อนประหยัดลิตร 5-10 บาท เพราะเขาไม่มีความมั่นคง สมมติผมขับรถมือ 2 เก่าๆ แต่ในพอร์ตผมมี 40-50 ล้าน คนไหนจะมีความมั่นคงมากกว่ากัน ถ้าใจเราอิ่ม ท่าทางเราจะอิ่มด้วย
• เรารวยเมื่อไร อย่ามองแค่ตัวเอง เพื่อร่วมชาติ ร่วมโลก ยังลำบากกว่านี้เยอะ เราโชคดีมีเงินเยอะ มีความสามารถ ใช้โอกาสนี้ช่วยเหลือคนอื่นด้วย บัญชีเรามีเงินมากพอ เกิดประโยชน์อะไรกับโลกใบนี้ไหม เศษเงินของเราแต่สำหรับคนอื่น มีประโยชน์มหาศาล คนที่ด้อยโอกาสกว่าเรามีอีกเยอะ
• มองย้อนกลับไปว่าผมฝ่าฟันมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ตอนจบใหม่ๆ ผมทำงานในกรุงเทพ เงินเดือน 8 พันบาท ต้องเช่าหอพักอยู่ทำงานในย่านธุรกิจ หอพักธรรมดาแบบมีแอร์ 7 พันบาท ไม่มีแอร์ 5 พันบาท สุดท้ายผมไปเช่าห้องแถวแบ่งให้เช่า 1.6 พันบาท เป็นห้องน้ำรวมใช้สายยางอาบน้ำ ทนอยู่หลายปีเพื่อเรียนหนังสือ เก็บตังค์หาเงิน ผมไปเมืองนอก ล้างจาน ไปหาเงิน มองย้อนกลับไปไม่น่าเป็นไปได้ แต่ผมก็ทำมาแล้ว ผมมีบทกวีของคุณ เปลื้อง ทำให้มีแรงใจให้ต่อสู้
• เมื่อเริ่มสู้นั้นมันมืดยิ่งกว่ามือ ครั้งยืนหยัดยาวยืดมืดค่อยหาย….
จริยธรรม กับ การลงทุน (อ.ไพบูลย์)
• จะมีพอร์ตสี่ห้าพันล้านวันหนึ่งก็ตาย
• มีคนบอกว่ามีเงินแล้วไหนๆ ก็ตายแล้วก็ใช้ให้เต็มที่
• กรรมดี ชาติก่อน ชาตินี้ : ทุกคนในห้องนี้ทำกรรมดี ถึงครบ 32 มีสมอง มีเงิน
• กรรมที่ไม่สร้างความสงบให้จิต ไม่ทำให้ความทุกข์ลดลง ก็เป็นความชั่ว
• ความโลภ ความกลัว 2 อย่าง เป็นตัณหา
• วัฏสงสาร วงจรอุบาท : ได้ผล >> เกิดความอยากเพิ่ม >> หาวิธีใหม่ << อยาก << ไม่ได้ผล
• โอวาทปาติโมกข์ ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี(2 ข้อนี้คือหลักการเป็นคนดีในสังคม) ทำจิตใจให้ผ่องใส (เป็นส่วนที่สำคัญกว่า 2 ข้อแรก)
เงิน VS ความสุข : ไม่ได้สัมพันธ์กัน
• ความทุกข์แฝงอยู่ในความสุข
ไม่ทำชั่ว
• หวังกำไรอย่างเดียว
ทำดี
• ไม่ซื้อหุ้นที่ผิดศีลธรรม
• ไม่ทำผิดศีลธรรมในการซื้อขาย
• แบ่งเงินทำบุญ ปล่อยวาง
• จัด port ให้สบายใจที่สุด
• เรื่องพวกนี้ขึ้นอยู่กับคนตีความ
• Ex. ผมเคยซื้อหุ้น cpf แต่ขายไปเพราะเป็นธุรกิจที่มีการฆ่าสัตว์ พอมานั่งนึกว่าเสียโอกาสไป 200-300 ล้านบาท
• Ex. 5000 สาขาขายเหล้าทั่วอาณาจักร บางคนก็ตีความว่าต้องไปโทษคนผลิต ไม่ใช่คนขาย
• ทาน ศีล ภาวนา
• ถ้าเราให้ทานกับคนชั่ว ถ้าเห็นโจรให้ทาน ได้บุญน้อยสุด ให้ทานกับคนดีบุญมาก พระพุทธเจ้า บอกทานที่ดีที่สุด คือ การให้อภัยกัน
• อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรแน่นอน เศรษฐีวันหนึ่งอาจเป็นยาจก
• ความเจริญ กับ ความเสื่อม มี 2 อย่าง ทางโลก และทางธรรม รวยขึ้นเป็นความเจริญทางโลก จนลงเป็นความเสื่อมทางโลก คนที่เจริญทางโลกมีโอกาสเสื่อมทางธรรมมากกว่าเพราะเราโลภมากขึ้น อยากได้มากขึ้น
• มรณานุสติ : เป็นสิ่งที่เตือนใจได้อย่างมหาศาล
• รวยหุ้นด้วย พ้นกรรมด้วยดีที่สุด
Q&A คุณโจ ลูกอีสาน ภาคบ่าย
• Q. ตัวเร่งที่ทำให้เกิด upsize ? A. ตัวอย่าง ดูหุ้นนิคม มีรายได้ผันผวนมาก ขายที่ดินผันแปรตามเศรษฐกิจ ดูค่าเฉลี่ยย้อนหลังหลายปี ได้กำไร ~ 800 ล้านบาท พอดีติดตามหุ้นโรงไฟฟ้าทราบว่าลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ 65% และมีนิคมนี้ถือหุ้น 35% พอมาประเมินดูหุ้นตัวโรงไฟฟ้า fwd pe 7-8 เท่า ไม่ถูกเท่าไร แต่สำหรับนิคม 35% นี้จะได้ส่วนแบ่งกำไร 1200-1400 ล้านบาท ซึ่งมีนัยยะมาก แต่ผมก็พลาดที่ไม่ได้ซื้อมาก และเอาไปคุยเยอะไปหน่อย ตัวเร่งผลกำไรต้องมี ถ้าไม่มีกำไรไม่โต ราคาหุ้นก็ไม่โตด้วย
• Q. เคยดูเทป money talk เรื่องปันผล ? A. ได้ปันผลก็จริง แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหน คุ้มหรือไม่
• Q. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับตัวแปรมากเกินไป? A. มีตัวแปรมากที่ส่งผลกับกิจการ แต่ควบคุมไม่ได้ เช่น หุ้นเหล็กที่ตัวแปรเปลี่ยนไป สมมติฐานที่มองไว้ก็เปลี่ยน วอร์เรนไม่ชอบอุตสาหกรรมที่มีตัวแปรเยอะๆ เช่นโรงงาน ถลุงสังกะสี จากเศษเหล็ก พอมีปัจจัย 5 ตัว พอคิดความน่าจะเป็นรวมที่จะประสบความสำเร็จเหลือราวๆ 40% เอง
• Q. แชร์ประสบการณ์ในอดีตที่ perfect กับ หุ้นที่ช้ำสุดๆ กับเหตุผลที่พลาด ? A. โอกาสที่จะแพ้น้อยมากๆ ปีแรกๆ ที่ลงทุน หุ้นวนชัย ตอนวิกฤติเศรษฐกิจซื้อได้ตอน pe 1.5 เท่า และภาวะอุตสาหกรรมนั้นกำลังฟื้นด้วย เป็นโอกาสที่นานๆมาที แต่หุ้นแบบนี้ต้องใช้เวลา ผมซื้อเกือบปีนิ่งมากไม่ไปไหน แต่พอราคามันขึ้นใน 1-2 อาทิตย์ 1-2 เท่าตัว และหลังจากนั้นขึ้นอีก 20 เท่า ส่วนความผิดพลาดที่ผิดหนักๆ ไม่ค่อยเจอ เพราะถ้ามีอะไรไม่เป็นไปตามที่คาดจะขายไปก่อน มีปีที่แล้วถือหุ้น growth ตัวหนึ่ง ประสบปัญหา ลูกค้าลดลง แถมเจอน้ำท่วม โรงงานมีที่เดียว ต้องใช้เวลาฟื้นฟู ตอนนั้นเราไม่ได้คิดความเสี่ยงนี้
• Q. ถ้ามั่นใจมากไม่ควรถือเกิน 40% ในภาวะตลาดแบบนี้ ถ้าถือหุ้น 80% ได้ไหม ? A. ถ้าผิดพลาดจะไม่มีอะไรรองรับเลย ในโลกนี้มีความเสี่ยงที่เราควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ แม้แต่ผู้บริหารของบริษัทยังไม่ถือหุ้นตัวเองบริษัทเดียวเลย คนที่ถือเวลาแบบนี้ต้องยิ้มรับเวลาเสียด้วย เป็นผมถ้าหาหุ้นไม่ได้อาจถือเงินสด
• Q. หุ้นเล็ก หุ้นใหญ่ เมื่อเช้า อยากให้ช่วยขยายความ ? A. บ้านปู ล้มได้ เซได้ แต่หุ้นเล็กโดยรวมจะมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ลดความเสี่ยงได้โดยเลือกหุ้นที่งบการเงินแข็งแกร่ง ผู้บริหารซื่อสัตย์ จะเป็นเบาะรองรับถ้าเกิดวิกฤติ de ไม่สูง โอกาสเจ๊งก็น้อย ผมเชื่อตามงานวิจัยว่ามีนักลงทุนติดตามน้อยกว่า วันนี้ตลาดให้ผลตอบแทน 30% รวมปันผล ปตท. ปูนใหญ่ ราคาขึ้นมาเท่าไร ในขณะหุ้นตัวเล็กดีๆ หลายตัว ขึ้นเป็นหลายเท่าก็มี
• Q. อยากทราบ timing ในการขายหุ้นวัฏจักร และหุ้นฟื้นตัว ? A. หุ้นวัฏจักร ที่จริงไม่ค่อยสำเร็จในหุ้นกลุ่มนี้ เมื่อถึงวัฏจักรรุ่งเรืองกำไรที่ทำได้จะเป็นสัดส่วนเยอะมากของยอดขาย ปกติกำไร 5% ของยอดขาย ช่วงที่ boom จะขึ้นไปถึง 20-30% อะไรที่มากกว่าปกติ เชื่อได้ว่าไม่ยั่งยืน อาจต้องกลับไปดูวัฏจักรหลายๆปี หุ้นฟื้นตัว ส่วนใหญ่ถ้าทุกคนคิดว่าหุ้นตัวนี้เป็นหุ้นฟื้นตัว แสดงว่า ณ ราคานั้นๆ ตอบสนองต่อการฟื้นตัวแล้ว ที่เหลือจะขึ้นกับการเติบโตหุ้นตัวนี้ ว่าได้มากได้น้อยแค่ไหน
• Q. ถ้าหุ้นตก สำหรับมือใหม่ ควร cut loss ไหม เช่น กันยงร่วง ? A. ผมก็ไม่แน่ใจ ประเด็นนี้อยู่ดีๆมีแรงขายอะไรมากมาย คนส่วนใหญ่จะคิดว่ามีอะไรผิดปกติกับหุ้นตัวนี้หรือเปล่า ถ้าไม่น่าจะมีอะไร เบาะรองรับ เงินสดเพียงพอ ผมจะซื้อเพิ่ม แต่อย่างที่บอก ผมจะไม่ซื้อเต็มที่ จะมี limit ที่ควบคุมไว้ทุกครั้ง มันไม่แน่ อาจมีปัญหาจริงๆ อย่างตัวที่ถามมามีเงินสดรองรับค่อนข้างเยอะ บริษัทลูกค่อนข้างดี
• Q. จะหาปลาอย่างไร อ่านข่าว ภาวะเศรษฐกิจ? A. ต้องทำทะเลให้แคบก่อน ทำเป็นบึงเป็นสระ คัดตัวที่ไม่เข้าใจออก หุ้นปั่น ธรรมาภิบาลไม่ดี อุตสาหกรรมตกดิน ถ้าเหลือซัก 200 กว่าตัว ส่วนใหญ่ผมติดตามตัวที่สนใจพิเศษ ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ดูว่ามีนัยยะกับกำไรบริษัทหรือเปล่า ตอนเช้า 9 โมงผมจะอ่านข่าวตลาดแล้ว ไม่ได้ติดตามที่ไหนเป็นพิเศษ ผมจะมองล่วงหน้าก่อนหนึ่งปี คอยติดตาม เราอย่าไปจ่ายตลาดตอนวายแล้ว
• Q. ให้ mos อย่างไรครับ? A. ราคาควรเป็น 10 บาท สูงสุดที่ผมซื้อได้คือ 7 บาท คุ้มที่จะเสี่ยง ถ้าเจอ upside 20% แต่ความแน่นอนสูงมากๆ ก็ยอมเสี่ยง
• Q. จะเก่งขึ้น ต้องขยายความรู้เพิ่มขึ้น ความรู้การลงทุน ตัวหุ้น ความรู้หาโอกาส พี่โจหาข่าวใน set อย่างเดียว ? A. ผมเพิ่งรับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ข่าวหุ้น ทันหุ้น 2 เล่มหลังๆ เหมือนอ่านนิยาย เอาเล่นๆไม่จริงจัง ว่าจะยกเลิกอยู่ แต่ไม่กี่ตังค์ก็ช่างมัน มีคลิปวัน oppday ที่เป็นคลังสมบัติเลย จะลึกและอาจดีกว่า อ่าน 56-1 ด้วยซ้ำ ถ้าบริษัทที่เราติดตาม ดู clip oppday อ่าน 56-1 ดูไว้ก็จะสะสมเป็นฐานความรู้ สมมติเขาแจ้งข่าวที่มีนัยยะต่อผลประกอบการก็เป็นโอกาส
• Q. ถ้าถือบริษัทที่ไม่ได้สัมผัสธุรกิจจริงๆ จะไม่มั่นใจ ถามว่าคุณโจจะมั่นใจมันได้อย่างไร? A. สิบปากว่าไม่เท่ามือคลำนะ ส่วนใหญ่หุ้นที่ผมเลือกมั่นใจระดับหนึ่งทุกครั้ง หุ้นที่ผมถือได้ไม่นานเลย คือ หุ้นที่ลอกคนอื่นมา ถ้าฟังคนอื่นมาแล้วซื้อตามจะถือได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเชื่อในกรอบความคิดตัวเองมากกว่า เรื่องสัมผัสได้จริงอาจไม่จำเป็น อย่างหุ้นเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ ต้องไปซื้อมาผ่อนหรือเปล่า อาจแค่หาข้อมูลมารวมกันเหมือนต่อจิ๊กซอว์ พอได้ภาพนั้นก็ตัดสินใจว่าน่าลงทุนหรือเปล่า
• Q. อยากทราบ activity ประจำวัน มีอะไรบ้าง? A. ผมบ้าหุ้น แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เล่นกับลูก ไม่พูดกับเมีย เวลาที่ใช้อ่านข่าวไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่เวลาใช้คิดไม่แน่ใจ เกือบตลอด เราก็คิดไปเรื่อย บางทีผมก็ได้ไอเดียตอนที่เคลิ้มๆ หรือไปวิ่งแล้วปิ๊งขึ้นมา คิดว่าไม่น่าจะเกิน 5 ชั่วโมง ต้องรับส่งลูก ทำกับข้าว จ่ายตลาด
• Q. ถ้าแบ่งเป็นสัดส่วนเรื่องหุ้น เรื่องครอบครัว ? A. มันแบ่งได้ด้วยหรอ? คิดเรื่องหุ้น ซัก 4-5 ชั่วโมง นอกนั้นก็ทำนู่นนี่ ในช่วงแรกจำไม่ค่อยได้ เราก็สนุกไปเรื่อย ถ้าเราทำเพราะอยากจะทำมันไม่ใช่การงานก็ไม่รู้สึกเหนื่อย
• Q. การประเมินมูลค่าหุ้น ปกติใช้ pe จะ forecast ไปข้างหน้า 1-2 ปี ใช้วิธีการแบบไหน? A. ได้กำไรมา หา eps คูณ pe ที่เหมาะสม แต่ถ้าเป็นหุ้น growth เรามองไปข้างหน้า ควรมียอดขายเพิ่ม 1-2 ปี เท่าไร กำไรที่ควรจะเป็น net margin เท่าไร แล้วเอามาคูณ pe ที่เหมาะสม เช่น โฮมโปร โตปีละ 20% แล้วมาหา margin พวกหุ้นค้าปลีก กำไรจะโตความกว่ารายได้ เพราะมี eos เราก็มาแปลง เป็น margin และกำไรที่เหมาะสม
• Q. สงสัยคำขวัญใต้ login การลงทุนคืออาหารที่อร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว ช่วยขยายความ? A. ผมอ่านนิยาย godfather หนังที่ได้รางวัลออสการ์ จะมีประโยคหนึ่ง การแก้แค้นคืออาหารที่อร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว มีวันหนึ่งตัวละครในหนังพ่อมาเฟียตาย ตระกูลต้องล่มสลายแน่ แต่ปรากฏว่าลูกชายคนรองส่งพวกไปจัดการในคืนเดียว กลับมาครองความยิ่งใหญ่ได้ ผมเอามาใช้เตือนใจการลงทุนว่า หุ้นบางตัวต้องอดทนมากๆ กว่าจะเห็นว่าเป็นหุ้นที่ดี พอมีวันหนึ่งถ้าคิดไม่ผิด ราคาหุ้นตอบสนอง สิ่งที่อดทนมา วันเดียวเราชนะเด็ดขาดเลย
• Q. อยากได้มุมมองว่าเป้าหมายการลงทุนปัจจุบันคืออะไร? A. ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็ไม่มีเป้าหมายแล้ว มันก็ไปเรื่อยๆ ไม่รู้สึกกดดันแล้ว ถ้าถามว่ามีเงินเท่าไรถึงจะพอ ผมเชื่อว่าเงินที่เพิ่มหลังๆ ไม่ได้เพิ่มความสุข มันเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก ผมบอกได้เลยว่าผมไม่ได้ทำเพื่อเงิน คนส่วนใหญ่หลงทาง ถ้าเราคิดให้ดีต้องการอะไรกันแน่ ที่จริงต้องการความสุข ไม่ใช่มีเงินเยอะๆแล้วจะมีความสุข ตั้งใจว่าสุดท้ายแล้ว เงินส่วนนี้จะคืนสู่สังคม ช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสกว่า พูดตรงๆว่าคนที่มาเล่นหุ้นเป็นระดับบนของสังคมแล้ว เกิดมาโชคดี ที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น เงินช่วยเหลือสังคม ช่วยเท่าไรก็ไม่พอ ถามว่าเราจะอยู่ในสังคมอย่างไร ถ้ารอบบ้านเราเป็นสลัม แต่เราเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่อยู่ที่เดียว
• Q. คิด fwd pe ปีนี้ 6 บาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 5 บาท ถ้าปีหน้าน่าจะเป็น 9 บาท เป็นพี่โจจะถือถึงปีหน้าไหม? A. ขึ้นกับเรามีทางเลือกตัวอื่นดีกว่านี้หรือเปล่า ถ้าเราหาหุ้นใหม่ที่ดีวกว่าก็ขายไป แต่ถ้าไม่ได้ก็ถือต่อ
_________________
เครดิต http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=54227
หน้าเว็บ
สวัสดี
สวัสดีทุกท่านครับ เราจะเป็นสถานที่ๆรวบรวมบทความน่าสนใจที่สร้างมุมมองที่สดใหม่ในการลงทุน เพื่อลับความคมของการลงทุนให้เฉียบ คม เพื่อสร้างพอร์ตโพลิโอไปสู่เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ทฤษฎีการแกะรอย บันทึกจาก ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
ทฤษฎีการแกะรอย บันทึกจาก ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
พี่ครับ พี่ครับ! สัปดาห์ที่แล้วผมวิเคราะห์ได้หุ้นมาตัวนึง พีอี ต่ำผมเลยซื้อไว้ใส่พอร์ต สัปดาห์นี้ได้หุ้นใหม่มาอีกตัวครับพี่ แหมตัวนี้พีอีต่ำกว่าเดิมอีก ผมเลยรีบขายตัวเดิมเลยครับพี่มาใส่ตัวใหม่แบบนี้ผมเป็นวีไอแล้วใช่มั๊ยครับพี่ แล้ว พีบี, พีอีจี แล้วเอ่อ พีอาร์อาร์ พีเอสอาร์ แล้วต้องดูประกอบกันยังไงครับพี่ แหม ผมใจร้อนอยากเป็นวีไอเร็ว ๆ อยากรวยเร็ว ๆ
เอ่อ น้องครับใจเย็น ทั้งนี้เมื่อประเทศของเรามีเศรษฐกิจดีขึ้น ตลาดหุ้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น นักลงทุนแนววีไอ ก็มากขึ้น ทฤษฎีวีไอ โดนตีความกันไปหลากหลาย ทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ แล้วนักเก็งกำไรหายไปไหนครับ? นักเก็งกำไรหายไปจากตลาดหุ้นแล้วหรือ ไม่เชิงหรอกครับ นักเล่นม้าเมื่อสนามม้าเปิดพวกเค้าก็พร้อมจะมาเจอกัน นักเล่นหุ้นก็เช่นเดียวกัน วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยเปรียบเปรยไว้ว่า
นักแทงม้านั้นแยกออกเป็นสองกลุ่ม ความเร็วและสายพันธ์ นักเล่นที่พนันบนความเร็วต้องการตัวเลขในการวิเคราะห์ เค้าจะจดจ่อกับทุกอนูของตัวเลขเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายความเร็วสูงสุดที่ม้า ตัวนั้นจะทำได้ในการแข่งขัน บนเงื่อนไขของพื้นสนาม น้ำหนักที่ม้าต้องแบก ฯลฯ ส่วนนักพนันที่เล่นบนสายพันธ์ม้านั้นแทบจะไม่สนใจตัวเลขเลย กลับดูหมิ่นด้วยซ้ำ เค้ามักจะกล่าวซ้ำ ๆ ว่า “สิ่งที่ผมต้องการรู้ก็คือสายพันธ์ม้าและคู่แข่งในอดีตของมันเท่านั้นเอง”
น่าแปลกที่หลักการทั้งสองสิ่งนี้มีเช่นเดียวกันในโลกแห่งการลงทุน เช่นเดียวกันเราก็มีนักลงทุนที่มุ่งเน้นในเชิงตัวเลข และมุ่งเน้นในเชิงคุณภาพของธุรกิจ เฉกเช่นปรัชญาการลงทุนของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์
นักวิเคราะห์ตัวเลขกล่าวว่า “ซื้อหุ้นราคาถูกและวัดผลงานของมันด้วยดัชนีต่าง ๆ เช่น พีอี พีบี ยิลด์ ฯลฯ”
ส่วนนักวิเคราะห์เชิงคุณภาพกล่าวว่า “ซื้อหุ้นในกิจการที่ดีที่สุด, ประกอบด้วยผู้บริหารที่เก่งที่สุด และก็ไม่ต้องไปกังวลกับตัวเลขต่าง ๆ”
น่ามีความสุขครับ, ทาง ไปสวรรค์มีหลายทาง ทักษะและมุมมองของผู้มีประสบการณ์นำทางไปสู่ความสำเร็จ วอร์เรนโชคดีครับที่ได้ผู้ชี้ทางผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาเค้าไปสู่ผลสำเร็จมหาศาล อันเนื่องมาจากการชี้นำของฟิชเชอร์ หลังจากอ่านหนังสือของ ฟิล ฟิชเชอร์ Common Stocks and Uncommon Profits และอีกเล่ม Paths to Wealth Through Common Stocks ในช่วงต้นปี 1960 วอร์เรนก็ตั้งใจจะเข้าไปพบ ฟิล ฟิชเชอร์ ให้ได้
เมื่อ วอร์เรนพบเค้าครั้งแรก เค้าค้นพบว่า ฟิล มีความละม้ายคล้ายกับอาจารย์เบน แกรม อย่างมาก ฟิชเชอร์เป็นคนถ่อมตัว ใจกว้าง และก็เชี่ยวชาญในการสอนคน วอร์เรนเรียนรู้เรื่องทฤษฎีการแกะรอย (Scuttlebutt) มาจากจุดนี้
”เราต้องออกไปเสาะหาข้อเท็จจริงของธุรกิจ จากการสืบค้น พูดคุยกับแหล่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น คู่แข่ง, ซัพพลายเออร์, ลูกค้า เพื่อที่จะสืบเสาะดูว่าการดำเนินงานของบริษัท แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?”
ความเข้าใจอันละเอียดถี่ถ้วนซึ่ง ฟิล ฟิชเชอร์ สอนให้วอร์เรนประกอบกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ เค้าเรียนรู้มาจาก อาจารย์เบน ช่วยให้ยึดมั่นในเส้นทางแห่งการลงทุนด้วยสติปัญญา และนั่นเป็นเส้นทางแห่งความสำเร็จของนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่คนนี้
“ลงทุนด้วยสติปัญญา” คำ ๆ นี้เป็นคำสำคัญ เมื่อวอร์เรน บัฟเฟตต์เลือกบริษัทลงทุนเค้าให้น้ำหนักกับตัวเลขหรือคุณภาพกิจการมากกว่า กัน วอร์เรนพูดไว้ละเอียดครับเมื่อครั้งเค้าไปบรรยายที่ University of Florida Business School ช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2540
“อย่า! ซื้อเพียงเพราะตัวเลขมันบอกคุณให้ซื้อ” ถึงแม้ตัวเลขมันจะบอกคุณให้ซื้อและคุณซื้อมามันก็ยังไม่นับว่าเป็นการลงทุนที่ดี จงซื้อเพราะคุณมั่นใจในสินค้า ผลิตภัณฑ์ของเค้า ไม่ใช่เพียงเพราะมันถูก ครั้งหนึ่งวอร์เรนก็เคยซื้อบริษัททำกังหันลม (windmill) เป็นการลงทุนแบบก้นบุหรี่ เค้าซื้อมันมาราคาถูกมากในราคาเพียงหนึ่งในสามของเงินทุนหมุนเวียน และแน่นอนมันทำกำไร แต่มันก็แค่ครั้งเดียวและมันไม่เกิดขึ้นอีก มันไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ ชีวิตวอร์เรน บัฟเฟตต์ผ่านเรื่องพวกนี้มาหมดแล้วบริษัทรถรางเค้าก็ซื้อมาแล้ว
กลับกันในเชิงคุณภาพ วอร์เรนแทบจะสามารถตีแตกเกือบทุกครั้งแค่เพียงแค่พูดคุยโทรศัพท์เพียงห้านาที หรือสิบนาที !
“But if you don’t know enough to know about the business instantly, you won’t know enough in a month or in two months.”
ถ้ามันเป็นธุรกิจที่ยากเย็น ฟังคำอธิบายสั้น ๆ แล้วคุณไม่เข้าใจ ต่อให้คุณใช้เวลาอีกเดือนหรือสองเดือนคุณก็ไม่เข้าใจมันอยู่ดี คุณต้องมองตัวเองให้ออกว่าสิ่งใดเรารู้สิ่งใดเราไม่รู้ สิ่งใดเราเข้าใจสิ่งใดเราไม่เข้าใจ นั่นคือหัวใจสำคัญของการลงทุน แต่กว่า วอร์เรน จะมาถึงจุดนี้ได้มันไม่ใช่ง่าย
“ลงทุนภายใต้ขอบเขตความรู้ของตนเอง” มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะรู้มากรู้น้อยเป็นพหูสูตรมาจากไหน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นวอร์เรน บัฟเฟตต์คนที่สอง คุณไม่ต้องเป็น ดร.นิเวศน์ คนที่สอง มันไม่สำคัญ มันสำคัญที่ว่าสิ่งใดที่คุณไม่รู้ไม่เข้าคุณอย่าไปยุ่ง ไม่จำเป็นต้องรู้จักหุ้นหมดทุกตัวในตลาดสมมติคุณรู้แค่ 30 ตัวในตลาดรู้แบบรู้จริงนะ คุณก็โอเคแล้วครับ เมื่อคุณรู้จักธุรกิจนั้น ๆ เป็นอย่างดีคุณก็ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยลง จุดนี้ทำให้ผมนึกไปถึงสุภาษิตไทยที่ว่า “อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียวแต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” แต่กว่าเราจะ “รู้กระจ่าง” ในธุรกิจนั้น ๆ เราต้องทำอย่างไร วอร์เรน เองเค้าก็ไม่ได้เก่งมาแต่เกิดหรือเริ่มลงทุน เค้าทำอย่างไร?
วอร์เรนทำงานหนักอย่างมากเพื่อให้รู้ลึกในบริษัทที่เค้าลงทุนและเค้าใช้ Scuttlebutt Approach หรือทฤษฎีการแกะรอยครับ
I would go out and talk to customers, suppliers, and maybe ex-employees in some cases. Everybody. Everytime I was interested in an industry, say it was coal, I would go around and see every coal company.
วอร์เรนจะไปพูดคุยกับลูกค้าของบริษัท ซัพพลายเออร์ของบริษัท และพนักงานเก่า คือ ทุกคน ทุกที่ นั่นหล่ะครับ ถ้าเค้าสนใจในธุรกิจเหมืองเค้าก็จะไปดูบริษัทเหมืองทุกๆ ที่ เค้าจะไปคุยกับซีอีโอว่า “ถ้าคุณจะซื้อสต๊อกของบริษัทเหมืองบริษัทอื่นที่ไม่ใช่คุณ คุณคิดว่าใครน่าสนใจ?” ทำไมครับ? คุณเก็บข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมข้อมูลเหล่านี้ทีละนิดทีละน้อย และคุณก็จะได้เรียนรู้เติมเต็มภาพของธุรกิจจนคุณเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมา
แล้วคู่แข่งล่ะ ถ้าคุณมีปืนอยู่ในมือและคุณยิงใครทิ้งก็ได้โดยไม่ผิดกฎหมายคุณอยากซัดใคร? ทำไม? ลองถามซีอีโอ ด้วยประโยคเหล่านี้และคุณจะได้รับคำตอบที่เต็มไปด้วยความลึกซึ้งของคนที่อยู่ในธุรกิจจริง ๆ เชื่อผมเถอะความรู้จะติดตัวเราไปจนวันตาย เมื่อเราเรียนรู้สิ่งใดแล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นองค์ความรู้ให้เราต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ นั่นทำให้คุณได้เรียนรู้ รู้ลึก รู้จริง “รู้กระจ่าง”
น้องไวไว อยากเป็นวีไอ ซื้อปั๊บขึ้นปุ๊บกำไรเลยเดือนหน้า หรืออีกสองเดือน ค่อยหาตัวใหม่ให้พีอีต่ำ ๆ ไว้ ผมคิดว่านั่นยังไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องสักเท่าไรครับ นักลงทุนรุ่นใหม่ควรใช้เวลาให้ลึกกับธุรกิจ อ่านรายงานประจำปี 56-1 ฟัง Oppday ประชุมผู้ถือหุ้น คุยกับ IR หาข้อมูลจากเน็ต จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เปรียบเทียบงบการเงินของลูกค้า คู่แข่ง หลาย ๆ บริษัท ถามตัวเองว่าทำไม เค้ากำไรมากกว่า ทำไมคู่แข่งมาร์เก็ตแชร์มากกว่า ผู้บริหารให้สัมภาษณ์อะไรไว้บ้าง นั่นเป็นเส้นทางวีไอที่ถูกต้อง และจะทำให้พวกเราประสบความสำเร็จบนเส้นทางนี้ได้ยั่งยืนกว่าครับ
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ
เป็นสรุปเนื้อหาจากหนังสือ ‘บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ’
(The Winning Investment Habits of Warren Buffett & George Soros)โดยเพื่อนผมเองครับ สรุปไว้เยอะมากๆ
เคยโพสลงใน forum ผมเลยเอามาขึ้นหน้าหลักอีกทีครับ
####
หลังจากมีการลงทุนของบัฟเฟตต์-โซรอส ก็เลยอยากเอาความรู้มาแบ่งปันเพื่อนๆสักหน่อย แหะๆ เอาเป็นว่าสรุปย่อๆละกัน หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของนักลงทุนชั้นเซียน (คุณปู่บัฟเฟตต์ กับโซรอส)กับ นักลงทุนขี้แพ้ ว่ามีอุปนิสัยในการลงทุนแตกต่างกันอย่างไร โอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับอุปนิสัย
ในที่นี้ขอพูดถึงอุปนิสัยของเซียนละกัน เพราะว่าคงไม่มีใครในที่นี้ที่กำลังอ่าน blog นี้อยู่ อยากเป็นนักลงทุนขี้แพ้ แล้วอีกเหตุผลหนึ่ง คือ จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เราปรับนิสัยการลงทุนของเราให้ทำตามแบบอย่างเซียนกันด้วยย เรามาดูกันเลยยยว่า อุปนิสัยทั้ง 23 ข้อมีอะไรบ้าง
Let's go
1) จงรักษาเงินต้นไว้ให้ได้เสมอ ข้อนี้สำคัญที่สุด สำหรับโซรอสเขากล่าวว่า การขาดทุนไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ทำให้เขารู้สึกเหมือนเดินถอยหลังกลับไปสู่จุดต่ำสุดของชีวิตอีกครั้ง
2) มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยง เป้าหมายของพวกเขา คือ ต้องให้แน่ใจเท่านั้นจึงจะลงทุน เค้าจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้ ดังคำกล่าวของคุณปู่ที่ว่า "Risk comes from not knowing what you're doing"
3) สร้างปรัชญาการลงทุนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ปรัชญาในการลงทุนของบัฟเฟตต์ คือ ประเมินคุณค่าให้ได้ และมองให้ออกว่ว่ากิจการไหนมีลักษณะที่น่าลงทุน รู้ว่าจะซื้อ ขายตอนไหน
4) พัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมเข้ากับนิสัยของตัวเองในการเลือกหุ้น หาจังหวะเข้าซื้อและขาย
เกณฑ์ในการลงทุนของบัฟเฟตต์
- ผมเข้าใจธุรกิจนี้หรือไม่
- ธุรกิจนี้มีสถานะทางเศรษฐกิจที่น่าดึงดูดใจหรือไม่
- สถานะทางเศรษฐกิจที่น่าดึงดูดใจนั้นมีความยั่งยืนหรือไม่
- ผู้บริหารจัดสรรเงินทุนอย่างเป็นเหตุผลหรือไม่
- ผมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจนี้หรือไม่ หากมีทีมผู้บริหารชุดนี้
- บริษัทให้ผลตอบแทนต่อผู้เป็นเจ้าของสูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่
- ผมชอบราคานี้หรือไม่ :วัดจากกำไรที่คาดว่าบริษัทจะสามารถทำได้ในอนาคต
5) การกระจายการลงทุนเป็นเรื่องของพวกกระจิบกระจอกเท่านั้น ยิ่งคุณมีหุ้นกระจัดกระจายมากเท่าไร เราก็ยิ่งทุ่มเทกับหุ้นที่เรามีได้น้อยลงเท่านั้น
6) ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนหลังหักภาษี วิธีที่จะทำให้เงินทวีคูณขึ้น คือ ขจัดภาระเรื่องภาษีและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมออกไปให้ได้
7) จงลงทุนในสิ่งที่คุณเข้าใจเท่านั้น บัฟเฟตต์พูดไว้ว่า "สิ่งสำคัญที่สุดของขอบข่ายแห่งความชำนาญไม่ได้อยู่ที่ว่ากว้างขวางขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณขีดวงล้อมของมันได้ชัดเจนเพียงใดต่างหาก" คนบางคนมักจะลงทุนตามที่โบรกเกอร์เชียร์ ตัวนี้ดี ตัวนั้นดี โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้รู้เลยว่าหุ้นตัวนั้นทำอะไร แต่จริงๆแล้วเราต่างหากที่ควรจะลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ มันก็เหมือนกับการที่คุณเข้าใจและสร้างผลตอบแทนได้ดี จากอสังหาริมทรัพย์ แต่พอเห็นว่าสินค้าโภคภัณฑ์บูม ก็เอาเงินไปลงทุนตามคนอื่นแล้วขาดทุนนั่นแหละ
8. จงปฏิเสธที่จะลงทุนในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุนของคุณ บัฟเฟตต์และโซรอสสร้างขอบข่ายแห่งความชำนาญของตัวเองด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ คือ ฉันสนใจอะไร ฉันรู้อะไรในตอนนี้ และอะไรที่ฉันอยากรู้แต่ยังไม่รู้ คุณต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน จึงจะหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการลงทุนของตัวเองได้
9) จงทำวิจัยด้วยตัวเอง มองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆให้สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ และเอาจริงเอาจังกับการวิจัยหาข้อมูลด้วยตัวเอง แล้วชอบที่จะฟังเฉพาะนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ผู้มีเหตุผลอันลึกซึ้งควรค่าแก่การนับถือ
บัฟเฟตต์บอกว่า เคยใช้เวลามากกว่าครึ่งเดือนเพื่อนับจำนวนรถจักรที่วิ่งไปมาบนทางรถไฟในแคนซัส O_o แต่เข้ากลับไม่ได้ซื้อหุ้นบริษัทรถไฟ กลายเป็นว่าไปสนใจหุ้นของบริษัทที่ผลิตแก๊สโซลีนเพื่อใช้กับหัวรถจักรแทน และซื้อหุ้นของบริษัทแก๊สแทนรถไฟ ในกรณีนี้บัฟเฟตต์ลงทุนลงแรงทำภาคสนามด้วยตัวเองเลย เขาจึงลงทุนได้ด้วยความมั่นใจ และรู้ข้อมูลที่นักลงทุนคนอื่นๆนอกบริษัทไม่รู้อีกด้วยยย
10) จงอดทนอย่างไม่สิ้นสุด เมื่อเขายังไมเจอการลงทุนที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของตัวเอง เขาก็มีความอดทนพอที่จะรอไปอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าจะเจอ "คุณไม่ได้เงินจากการทำโน่นทำนี่ หรอกครับ คุณได้เงินจากการทำสิ่งที่ถูกต้องต่างหาก" บัฟเฟตต์กล่าวในการประชุมประจำปีกับผู้ถือหุ้น
11) จงทำทันที ลงมือทันที เมื่อตัดสินใจดีแล้ว
12) อยู่กับการลงทุนที่ทำให้ได้รับชัยชนะ จนกว่าเหตุผลสมควรให้ขายที่คิดไว้ล่วงหน้าจะอุบัติขึ้น
กลยุทธ์ในการออก : 1)ออก เมื่อโดนแหกกฎ
2) ออก เมื่อเหตุการณ์ที่คาดไว้ได้เกิดขึ้นแล้ว
3) ออก เมื่อบรรลุเป้าหมายตามระบบแล้วหรือราคาไปถึงเป้าหมายแล้ว
4) ออก เมื่อระบบส่งสัญญาณมา นิยมในหมู่นักเทคนิค
5) ออก ตามกฎที่ตั้งไว้ เช่น พอราคาถึงจุดหนึ่งก็จะขาย หรือขายทันทีเมื่อขาดทุน 10 เปอร์เซ็นต์หรือจุดที่เราตั้งไว้
6) ออก เมื่อรู้ตัวว่าได้ทำผิดพลาดไปแล้ว
13) จงทำตามระบบของคุณด้วยความศรัทธา ไม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์การลงทุน หรือลดเป้า เพื่อปลอบใจตัวเองว่าฉันทำถูกแล้ว
14) ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขทันที เมื่อความผิดพลาดนั้นปรากฏชัด ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็แค่ขาดทุนเล็กน้อย
15) เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นประสบการณ์ฟิชเชอร์กล่าวว่า "การทบทวนความผิดพลาด อาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการระลึกถึงแต่ความสำเร็จซะอีก"
16) ลงทุนลงแรง เมื่อประสบการณ์เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ใช้เวลาน้อยลงเพื่อทำเงินได้มากขึ้น เพราะได้ลงทุนลงแรง ไปแล้ว
17) ไม่เคยพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำ แทบจะไม่บอกใครเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับการลงทุนของเขา จะบอกทำไม ในเมื่อบัฟเฟตต์รู้ตัวดีว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยยืนยันการตัดสินใจแต่อย่างใด เช่นเดียวกับโซรอสที่ไ่เคยเปิดเผยความเคลื่อนไหวของตัวเองให้ใครรู้ เพราะถ้าคนอื่นรู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ก็จะแห่กันเข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้น และราคาก็จะสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของเขาสูงขึ้นไปน่ะสิ
18) รู้วิธีเป็นผู้นำ นักลงทุนชั้นเซียนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับคนอื่น สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว ทุกๆการลงทุน คือ การกระจายงาน เขาจะระลึกเสมอว่า เขากำลังเอาอนาคตของเงินของตัวเองไปให้คนอื่นดูแล และเขาจะมอบหมายหน้าที่นี้ให้กับคนที่เขาไว้ใจและนับถือเท่านั้น
19) จงใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของคุณ ถ้าคุณไม่รู้คุณค่าของเงิน คุณย่อมไม่รู้จักเก็บออมเงินทองที่หามาได้ การใช้เงินนั้นง่ายมากๆ ใครก็ทำได้ แต่หาเงินสิยากกว่า นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตัวเองจึงเป็นทัศนคติที่เป็นรากฐานของความสำเร็จของบัฟเฟตต์และโซรอส
20) ก้าวให้พ้นเรื่องเงิน นักลงทุนชั้นเซียนทำงานที่ทำอยู่ เพราะงานนั้นทำให้กระชุ่มกระชวยและเติมเต็มชีวิตของเขา ไม่ใช่ ทำงานเพื่อเงิน ถ้าคุณมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งนั้น เงินทองที่คุณทำได้ในระหว่างไล่ล่าเป้าหมาย จะเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นเอง
21) กระบวนการ นักลงทุนชั้นเซียน จะผูกพันกับกระบวนการในการลงทุน สามารถปฏิเสธหรือล้มเลิกการลงทุนใดๆได้ง่ายๆ // สิ่งที่เหมือนกันในบรรดาที่เป็นคนสุดยอดในแนวทางของตัวเองก็คือ พวกเขาถูกผลักดันจาก กระบวนการกระทำ // การลงทุนสำหรับนักลงทุนชั้นเซียนก็เหมือนการวาดภาพของจิตรกร ซึ่งบางคนอาจชอบวาดภาพด้วยสีน้ำมัน สิ่งที่เขารักคือ การ 'วาดภาพด้วยสีน้ำมัน' แต่เข้าไม่ได้รัก 'สีน้ำมัน'
22) หายใจเข้า-ออก เป็นการลงทุนตลอดเวลา
เรื่องเล่าของบัฟเฟตต์ :: เย็นวันหนึ่ง บัฟเฟตต์และซูซาน ไปกินอาหารเย็นที่บ้านเพื่อน ที่เพ่ิงจะกลับมาจากอียิปต์ หลังจากทานข้าวเสร็จ เพื่อนก็เตรียมสไลด์รูปภาพไว้ให้ดู แต่บัฟเฟตต์กลับบอกว่า "เอางี้ไหม คุณเปิดสไลด์ให้ซูซานดู ส่วนผมขอเข้าไปในห้องนอนของคุณ เพื่ออ่านรายงานประจำปีแล้วกัน" O_o
23) เอาเงินของคุณใส่ลงไปด้วย ทั้งบัฟเฟตต์และโซรอส ต่างก็เอาเงินใส่ลงไปในการลงทุนที่ตัวเองบริหารจัดการอยู่ ด้วยเหตุผลเดียวกับการที่นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคนมีสินทรัพย์ผูกติดอยู่ในธุรกิจที่ตัวเองทำ การลงทุนของพวกเขา คือ ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าจะทำเงินได้ นั่นคือ สิ่งที่เขารักนั่นเอง
จบแล้วสำหรับอุปนิสัยการลงทุน หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ ไม่มากก็น้อยน๊าาา
ที่มา : http://www.sarut-homesite.net
กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นด้วยเงินทุนน้อยๆ : ลูกอีสาน
กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นด้วยเงินทุนน้อยๆ : ลูกอีสาน
สืบเนื่องจากกระทู้นี้
มีเงินน้อย เป็น vi ไม่ได้ จริงหรือไม่ : http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=25999
แม้ผมจะเห็นด้วยกับหลายๆท่าน ว่าเงินลงทุนมากน้อย ก็สามารถลงทุนตามแนวทาง vi ได้ แต่อีกด้านนึงผมคิดว่า แม้จะลงทุนแบบ vi เหมือนกัน แต่ระดับเงินลงทุนก็มีผลต่อเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ควรจะใช้
ครั้งหนึ่ง Warren Buffett เคยพูดว่า หากวันนี้มีเงินลงทุนแค่ 1 ล้านเหรียญ เค้าสามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่า 50% ต่อปี ซึ่งผมคิดว่ามีความเป็นไปได้สูง เพราะช่วงแรกๆที่วอร์เรนลงทุนผ่านห้างหุ้นส่วน เค้าสามารถทำผลตอบแทนได้ประมาณ 30% ต่อปี ในทำนองเดียวกัน หาก ดร.นิเวศน์ มีเงินลงทุนวันนี้แค่ 1 ล้านบาท ผมคิดว่าแนวทางการเลือกหุ้นของท่าน อาจจะแตกต่างออกไป
เงินลงทุนน้อยๆ ตามนิยามง่ายๆของผม อาจจะเป็นเงินหมื่น เงินแสน และไม่เกิน 1 ล้านบาท ลำพังหากลงทุนโดยแนวทางอนุรักษ์นิยม อาจได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10-15% ต่อปี ซึ่งอาจจะเพียงพอและน่าพอใจหากเป็นพอร์ตการลงทุนขนาดกลางหรือใหญ่ แต่ผลตอบแทนระดับนี้ไม่อาจสร้างความแตกต่างในพอร์ตขนาดเล็ก
ดังนั้นหากเป็นพอร์ตการลงทุนระดับเล็กๆ ผมคิดว่าควรมีกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น
กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ
1. ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด
2. ต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
ประเด็นแรก ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด สามารถแยกเป็นภาพย่อยๆได้อีกคือ
1.1 ควรเพิ่มรายได้ เพิ่มจำนวนเงินให้มากที่สุด
1.2 ลดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มเงินออม ที่จะนำมาลงทุน
1.1 เพิ่มรายได้ ผมมองในแง่คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนไม่สูงมาก การเพิ่มรายได้สามารถทำได้โดยการหารายได้เสริม การย้ายงานใหม่ การเพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มค่าจ้าง การแต่งงานที่คู่ชีวิตมีรายได้ด้วย (ถ้าโชคดีได้แฟนรวยจะดีมาก) การหยิบยืมเงินจากพ่อแม่หรือญาติในระดับที่หากเสียหายก็ไม่ทำให้เดือนร้อนมาก ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุน เพราะจะมีแรงกดดันจากที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดเวลา
1.2 การลดรายจ่าย รายจ่ายที่หนักที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คือการผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน คุณสุวภา ผู้เขียนหนังสือ show me the money เคยพูดไว้ว่า ตัวอย่างการใช้เงินที่เลวที่สุดของหนุ่มสาวที่กำลังสร้างอนาคตคือ การซื้อรถ แต่ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันพอสมควร หลายท่านอาจจะบอกว่าทั้งบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หรือต้องใช้ประกอบการทำงาน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในบางประเด็น แต่ถ้ามองรอบด้าน เราอาจจะพบว่ามีทางเลือกอื่นๆอีก ที่ทำให้สามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้ เช่น
- แทนที่จะผ่อนบ้าน เราอาจจะอดทนอาศัยอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนที่สนิท หรือแม้แต่การเช่าบ้านที่ค่าเช่าไม่สูงมาก เหล่านี้แม้จะไม่สะดวกสบายเท่า แต่สามารถประหยัดทั้งดอกเบี้ยผ่อนและยังสามารถนำเงินต้นไปหาดอกผลจากการลงทุน
- แทนที่จะผ่อนรถ เสียทั้งเงินต้นและดอกและยังมีค่าใช้จ่ายน้ำมัน ทางด่วน ซ่อมแซม ค่าประกัน เหล่านี้เป็นเงินจำนวนมากที่เราคาดไม่ถึง เราอาจจะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ หรือกระทั่งซื้อรถมือสองที่ราคาถูกกว่ามาก หรือหากยังมีค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนงาน หรือย้ายบ้าน ย้ายที่พักซะเลย ให้ที่ทำงานกับที่พักอยู่ใกล้ๆกันเพื่อประหยัดค่าเดินทาง
รายจ่ายอื่นๆที่พอจะประหยัดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือน ถ้าคิดเป็นรายจ่ายทั้งปีเราอาจจะตกใจ ทางเลือกคือ เราอาจะโทรน้อยลง หรือไม่โทรเลย (ไม่โทรไม่ตายซักหน่อย) เปลี่ยนเครื่องนานๆครั้ง ใช้เครื่องถูกๆ
ข้างต้นที่เขียนมาคงทำได้ไม่ง่ายครับ เพราะรายจ่ายเหล่านี้ คนปกติทั่วไปในสังคมเค้าทำกัน เรียกว่าบินก่อน ผ่อนทีหลัง เอาสบายไว้ก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน แต่หากเราต้องการที่จะแตกต่างจากคนอื่นๆ(อยากรวย) เราควรจะทำให้ได้ อาจจะในรูปแบบหรือวิธีที่ต่างกันออกไปตามฐานะ ความจำเป็นของแต่ละคน
ประเด็นแรก การหากเงินมาลงทุนให้มากที่สุด ผมคงไม่เน้นมากครับ แต่จะไปเน้นในประเด็นที่สองคือทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
ประเด็นที่สอง ทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด
ประเด็นนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกคนต่างต้องการ และยิ่งหากมีเงินลงทุนไม่มาก การทำผลตอบแทนให้สูงๆยิ่งมีความสำคัญ การมีเงินลงทุนน้อยๆและทำผลตอบแทนในระดับปกติ เช่น 10-15% ต่อปี กว่าที่เงินลงทุนจะเติบโตสมมุติ 1 เท่าตัว อาจใช้เวลา 5 – 6 ปี ซึ่งอาจจะน่าพอใจหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับเงินฝาก แต่อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาการลงทุน นอกจากนั้น แม้เงินทุนจะเพิ่มขึ้นมาระดับนี้ แต่ด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อย กำไรที่ทำได้ก็น้อยไปด้วย และสุดท้ายจะพาลทำให้นักลงทุนหมดกำลังใจ เพราะดูเหมือนการลงทุนอย่างนี้ทำให้รวยช้า อาจหันเหไปเก็งกำไร หรือไปเสี่ยงโชคกับการธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นว่าจะทำให้รวยเร็วกว่า
การเพิ่มเทคนิค กลยุทธ์เพียงเล็กๆน้อยๆ สำหรับพอร์ตการลงทุนเล็กๆ อาจจะเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ที่จริงกลยุทธ์เหล่านี้ เพื่อนๆหลายท่านก็ทราบกันดีจากที่โพสต์มา แต่หากนำมาเรียบเรียงรวมกันเป็นหมวดหมู่ จะเป็นประโชน์กับเพื่อนๆได้พิจารณาเป็นทางเลือกใหม่ครับ
กลยุทธ์ที่ผมพอจะคิดออกมีดังนี้ครับ
1. การทำการบ้าน(หุ้น) ไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่านี่เป็นการแปรเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นพลัง – เป็นแรงบันดาลใจ ที่ชัดเจนที่สุด ยิ่งหากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาที โดยไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่น หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน หากไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเงิน ผมแนะนำให้ลงเรียนที่ ม.รามคำแหง บัญชีเบื้องต้น หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียน ซื้อหนังสือซื้อชีทมาอ่าน ก็เข้าใจได้ครับ
2. ไปหาปลาตรงที่มีปลา เนื่องจากเราตั้งโจทย์ว่าเราต้องการผลตอบแทนสูงๆ ดังนั้นเราก็ต้องหาประเภทของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงๆ เสมือนไปหาปลาตรงที่ๆมีปลา ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำได้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่คอ่ยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง
หลักทรัพย์บางประเภท เช่นวอร์แรนต์ ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเอง ดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ
3. มองหาตัวเร่งเร้า(ที่รุนแรง) หมายถึง มองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น การแจกวอร์แรนต์
หากเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น 2 ตัว ที่มีปัจจัยทางด้านอื่นๆเหมือนๆกันหรือคุณภาพพอๆกัน หุ้นตัวที่มีตัวเร่ง มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
4. เริ่มต้นลงทุนให้เร็วที่สุด เพราะการที่พอร์ตการลงทุนจะโตมากๆ ต้องอาศัยการทบต้นหรือการนำกำไรไปลงทุนต่อ ดังนั้น ในปีหลังๆพอร์ตการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะเงินต้นมากกว่า แม้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิม
การลงทุนให้เร็วที่สุด จะทำให้เราไปถึงจุดที่เงินลงทุนออกดอกออกผลได้เร็ว นอกจากนั้น การที่เราเริ่มลงทุนเร็ว เท่ากับว่าเราได้เริ่มเรียนรู้เร็วไปด้วย ซึ่งความรู้จะพอกพูนไปตามวันเวลา และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เคยมีผลการวิจัยศึกษาพบว่า นักลงทุนที่เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าๆกัน ทำผลตอบแทนได้เท่าๆกัน ต่างกันตรงที่เริ่มลงทุนห่างกันหลายปี เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของทั้งสองคนจะห่างออกจากกันมากขึ้น เสมือนเส้น 2 เส้นที่ลากออกจากจุดเดียวกัน เส้นทั้ง 2 ทำมุมกันเพียงเล็กน้อย ถ้าลากเส้นยาวขึ้นเรื่อยๆ เส้นทั้งสองจะออกห่างกันมากขึ้นทุกที
5. ผู้บริหารในฝัน เพราะผู้บริหารที่ดีจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนมากกว่าปกติ ผู้บริหารที่นักลงทุนควรมองหาคือ มีความรู้ซึ้งในธุรกิจที่ทำ มีความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล มี passion ในงานที่ทำ มีความกระหายที่จะทำให้บริษัทเติบโตและที่สำคัญต้องมองผลประโยชน์ในมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย
ถ้าเจอผู้บริหารที่มีคุณสมบัติข้างต้น ช่วยสะกิดบอกผมด้วย เพราะนี่เป็นสัญญานที่ดีที่จะเจอหุ้นดีๆ การศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านอื่นๆประกอบเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนต่อไป
(เทคนิคไม่ยากที่เราอาจจะพบผู้บริหารอย่างนี้ สังเกตุจากบริษัทที่เข้าร่วมงาน oppurtunity day บ่อยๆ เพราะนั่นแสดงว่าผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ กล้าที่จะเปิดเผยต่อนักลงทุนรายย่อย แสดงว่าผู้บริหารอาจจะมั่นใจว่าบริษัทดีจริง)
6. ถือหุ้นน้อยตัว หากเรามีเงินทุนน้อย การกระจายการถือหุ้นหลายๆตัว อาจทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้จะหักล้างกันทำให้ผลตอบแทนไม่สูงเท่าที่ควร การเลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัวเช่น 2-5 ตัว จะทำให้เรามีความรอบคอบ พิถีพิถันที่จะเลือกถือหุ้นในกลุ่มที่ดีที่สุด ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้) และหากเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้รับจะคุ้มค่า
ตัวเลข 2-5 ตัวอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามระดับความมั่นใจในพื้นฐานของหุ้นที่เราจะลงทุน
7. คาดหวังผลลัพธ์ 100% เลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้กำไรสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง แม้หุ้นเหล่านี้อาจจะมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่จะศึกษาให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงนี้ แน่นอนว่าในการลงทุนทุกอย่าง เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ หากเราลงทุนในหุ้นที่แพ้ เราจะแพ้ หากเราเลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสทั้งชนะและแพ้ เราจะมีโอกาสทั้งชนะและแพ้ ขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษามากน้อยแค่ไหน และบางทีก็เป็น โชคชะตา..
8. Growth always better ถ้าหากหลายท่านจำกันได้ กระทู้ของคุณริวกะเมื่อไม่นานมานี้ TVI Index ที่จริงอาจจะมีเพื่อนๆเอะใจว่า คำตอบการลงทุนที่เราค้นหามานาน อาจจะซ่อนอยู่ในกระทู้ที่ว่านี้ก็ได้ คำตอบที่ผมหมายถึงคือหากเราดูผลตอบแทนย้อนหลังของหุ้นหลายๆตัวที่ทำกำไรสูงๆ ในกระทู้นั้น สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกบริษัทเป็นหุ้นเติบโตสูงหรือ growth stock ทั้งสิ้น คำอธิบายแบบเรียบง่ายคือราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่ม คนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ตเสมอๆ
…เวลาจะเป็นเพื่อนที่ดีเสมอ หากเราลงทุนในหุ้น Growth…
กลยุทธ์สำหรับนักลงทุนเบี้ยน้อยหอยน้อย คงมีแค่นี้ครับเท่าที่คิดออก ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นอื่นจะเสริมก็จะเป็นประโยชน์ครับ และที่ต้องขอย้ำคือ กลยุทธ์ส่วนใหญ่ คงเหมาะสมกับนักลงทุนที่มีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว และจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ ถ้าถามว่ากลยุทธ์ข้อไหนที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคงเป็นข้อแรก ถ้าไม่มีข้อแรก ประเด็นอื่นๆก็จะไม่ตามมา
ผมและเพื่อนท่านอื่นๆอาจจะเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่นักลงทุนต้องเดินทางด้วยตัวเองครับ ระหว่างทางอาจจะมีความยากลำบาก มีอุปสรรค มีเพียงทัศนคติที่ถูกต้อง ความตั้งใจ และกำลังใจ จะทำให้เราไปถึงจุดหมายครับ มีบทกวีบทหนึ่ง นำมาฝากเป็นกำลังใจด้วยครับ
เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด…
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย…
พอมองเห็นลางลาง อยู่ทางปลาย…
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ…
…
‘กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ’
อนุรักษ์ บุญแสวง (พี่ลูกอิสาน แห่งเวบ Thaivi.com)
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วิธีการลงทุนของ พี่โจ ลูกอีสาน
วิธีการลงทุนของ พี่โจ ลูกอีสาน
ผมตัดแปะมาจากกะทู้ในตำนานนะครับ : ขอถามคุณลูกอีสาน
เรื่องเทคนิคการปรับพอร์ตครับ
ท่านนี้สุดยอดจริงๆ ไอดอลของผมเลย
####
วิธีการเรียบง่ายที่ผมใช้ทำมาหากินแทบทุกครั้ง
จะเป็นอย่างนี้ครับ..
1. หา P/E ที่เหมาะสมของแต่ละบริษัท บริษัทไหนที่คาดการง่ายหน่อย กำไรโตเรื่อยๆ ปันผลดี พวกนี้จะ P/E สูงเหมือนพวกค้าปลีก
โรงพยาบาล เป็นต้น ส่วนพวกที่ด้อยกว่า เช่น พวกรับเหมา ก็ให้ P/E ต่ำๆ
2. หา P/E ในอนาคต(อันใกล้)ของบริษัทที่เราสนใจ นี่หมายความว่าเราต้องประมาณกำไรของกิจการได้
เราจะทำได้ต้องหาข้อมูลเพื่อประเมินกำไรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
3. หาส่วนต่างของ P/E ที่เหมาะสม
และ P/E ที่จะเกิดขึ้นจริง
เช่น เราประเมินว่าบริษัทนี้ควรมี P/E
15 เท่า
แต่เราประเมินแล้วราคาตลาดวันนี้หรือในอนาคตใกล้ๆนี้ P/E แค่ 7 เท่า นั่นแสดงว่า
ราคาตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 50% (มี margin
of safety 50%) อย่างนี้น่าสนใจครับ
ปกติต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นซัก 30% ผมก็สนใจแล้ว
ผมมีความเชื่ออย่างนี้นะ..
*ระยะยาว
หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดเสมอ
*ตลาดเหมือนฤดูกาลที่มีทั้งรุ่งเรืองตกต่ำ
หน้าหนาว-หน้าร้อน ขอให้เราเข้าใจและหาประโยชน์จากความจริงข้อนี้
*นักลงทุนเอกของโลกทุกคน
เคยผ่านวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง หนักหนากว่านี้ก็มี ถ้าหยุดลงทุนก็คงไม่มีวันนี้
แม้แต่ ดร.นิเวศน์ ท่านเริ่มลงทุน 10 ปีที่แล้ว ตอนที่ดัชนีประมาณ 800 จุด
ท่านได้ผลตอบแทน 30 เท่า ทั้งที่วันนี้ดัชนีตลาดต่ำกว่า 10 ปีที่แล้ว
*ผมพูดเสมอๆว่า
ตรรกะของการทำกำไรจากหุ้นคือ ซื้อถูกขายแพง คำถามต่อไป
แล้วเราจะขายได้แพงตอนตลาดเป็นแบบไหน และหากเราจะซื้อของให้ได้ราคาถูก
เราจะซื้อได้ตอนที่ตลาดเป็นอย่างไร
*การขายหุ้นและเลิกลงทุนตอนตลาดตกต่ำ
เป็นการละเมิดศีลที่สำคัญที่สุดของนักลงทุน vi
เพราะนั่นหมายความว่า
เราจะไม่มีโอกาสได้กำไรกลับคืนตอนตลาดกลับไปรุ่งเรืองเลย
*มองไปวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า
เดือนหน้า ปีหน้า 5 ปี 10 ปีข้างหน้า แล้วทุกอย่างในวันนี้มันจะผ่านไป
*อย่าให้อารมณ์ของตลาด
มาหยุดความมุ่งมั่นในการลงทุนของเรา อย่าทำให้เราหมดกำลังใจที่จะทำการบ้าน
ศึกษาหาความรู้
*เราลงทุนวันนี้
ไม่ใช่เพื่อให้รวยพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ แต่เพื่อ 10 ปี 20 ปีข้างหน้า
*เราจะรู้ว่าใครแก้ผ้า ก็ตอนน้ำลด
ผมแนะนำครับ..
1. หามูลค่าที่เหมาะสมเสียก่อน พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
2. ดูราคาในตลาด ว่าสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าที่เราคำนวณได้
3. ตัดสินใจ ซื้อหรือขาย
ผมมองว่าที่หลักการลงทุน vi เติบโตเด่นได้รับความนิยมขึ้นมา
ไม่ใช่เพียงเพราะมีตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น
แต่เป็นเพราะความเป็นเหตุเป็นผลของมัน คือหุ้นจะขึ้นจะลงเพราะมีเหตุผลทางธุรกิจ
ไม่ใช่หุ้นจะขึ้นเพราะหลายคนบอกว่าจะขึ้น และมันจะลงเพราะหลายคนบอกว่ามันจะลง
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างเดียว
เพราะเป็นคนก็ต้องมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผมก็ยังเป็น แต่ถ้าเราจะเป็น vi ที่ประสบความสำเร็จ
เราต้องพิจาณาด้วยเหตุผลธุรกิจเป็นหลักครับ
ส่วนเรื่องจาก ซื้อเพิ่ม, cut loss ผมไม่กล้าแนะนำ
แต่ผมจำที่ใครคนหนึ่งเคยพูดทำนองว่า ลืมต้นทุนที่ซื้อมา
คิดเสียว่าพอร์ตตอนนี้เป็นเท่าไหร่ หุ้นในตลาดตัวไหนน่าซื้อที่สุด
ขายไปซื้อตัวนั้น ถ้าเป็นตัวเดิมก็ไม่ต้องทำไร
ผมเชื่อว่า มี 2 แรงที่ผลักดันราคาหุ้น
1. กำไร >> เราเรียกรวมว่า พื้นฐาน
2. ปัจจัยด้านจิตวิทยา – อารมณ์ของตลาด
ประเด็นแรก เป็นสิ่งที่นักลงทุนแนว vi ต้องวิเคราะห์อยู่แล้ว
แต่ถ้าเข้าใจประเด็นที่สองด้วย ก็จะเพิ่มผลตอบแทนได้อีกครับ ผมตอบไม่ได้ชัดเจนว่า
เราจะดูอารมณ์จิตวิทยาของตลาดได้อย่างไร(ยังไม่รู้จริง) แต่ประมาณว่า
ถ้าเราเข้าใจอารมณ์ตลาด เรามักจะได้ซื้อหุ้นที่ดี ที่ราคาไม่แพง
เหมือนที่ Graham เปรียบเปรยเป็นนิทาน
Mr. Market ครับ นอกจากนั้น เราอาจพิจารณาจิตวิทยาของนักลงทุนในตลาดว่า
เค้านิยมหุ้นพิมพ์แบบไหน ในอุตสาหกรรมใดที่กำลังจะฮอต หุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่
ราคาต่ำหรือราคาสูง เหล่านี้เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้ครับ
เราลงทุนแนว vi แต่พิจารณาไว้บ้างก็ไม่เสียอะไร
ผมปรับพอร์ตบ่อยๆครับ
เหตุผลมักเป็นอย่างนี้
1. เจอหุ้นตัวที่ดีกว่า แต่ไม่มีเงินก็ต้องขายตัวที่ด้อยที่สุดไป
2. ตัวที่ถือพื้นฐานเปลี่ยน
อันนี้แน่นอนก็ต้องขายออก
3. หุ้นขึ้นจนราคาสมเหตุสมผล
ผมก็อาจจะขายไปเพิ่มตัวที่ยังต่ำกว่ามูลค่า
4. หุ้นลงผมก็ปรับพอร์ต
ขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่มีอัพไซด์มาก
ผมก็ปรับไปเรื่อยครับ
ตามข้อมูลที่ได้รับมา ไม่มีเกณฑ์ตายตัวว่าบ่อยแค่ไหน หรือกี่เปอร์เซนต์ของพอร์ต
ตั้งแต่ซื้อหุ้นมายังถือไม่เกิน 3 ปีเลยครับ เฉลี่ยเกือบๆปีประมาณนั้น
แต่เห็นด้วยครับว่า ตลาดผันผวน
เราสามารถใช้การปรับพอร์ตหาประโยชน์จากความผันผวนนั้นได้
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
เราลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และหุ้น
ถ้าตลาดซบเซาหนักๆเราก็ควรย้ายเงินจากกองทุนมาลงหุ้นให้มากขึ้น
หรือเปลี่ยนไปถือหุ้นตัวทีมีอัพไซด์สูงกว่า หากตลาดเป็นขาขึ้น หาหุ้นลงทุนได้ยาก
อาจจะต้องเปลี่ยนไปถือตัวที่ defensive มีปันผลเยอะหน่อยๆ ประมาณนี้ครับ
ระยะเวลาที่ถือหุ้น สั้นที่สุดนี่จำได้ว่าประมาณ 1 อาทิตย์ครับ
ซื้อแล้วขึ้นไปประมาณ 30% ผมก็ขายซิครับ เพราะผมหวังผลตอบแทนแค่นั้น
ส่วนยาวนี่ไม่แน่ใจครับ ประมาณ 2 ปี ที่จริง ประเด็นเรื่องเวลาการถือครองหุ้นไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ
คำถามที่สำคัญกว่าคือ ราคาเหมาะสมกับพื้นฐานหรือยัง
และการถือหุ้นนานๆก็มีผลเสียนะครับ เช่น เราจะเฉื่อยชา ผูกผัน เกิดความลำเอียง
รักหุ้นตัวเอง
และถ้ามองในแง่ผลตอบแทน ดูตัวเลขนี้ครับ
*หุ้นตัวแรก เราซื้อผ่านไป 1 ปี
ขายที่ราคาเป้าหมายได้กำไร 60% ทั้งปีได้กำไร 60%
*หุ้นตัวที่ 2 เราซื้อผ่านไป 6
เดือนได้กำไร 40% ตามเป้าหมาย ขายออกไปซื้อหุ้นตัวที่ 3 ผ่านไป 6 เดือนได้กำไร 40%
ตามเป้าหมายอีก รวมทั้งปีได้ผลตอบแทน 96%
หุ้นตัวแรกให้ผลตอบแทนมากที่สุด
แต่ถ้าให้เลือกผมขอซื้อหุ้นตัวที่ 2-3 ดีกว่า นี่คงคล้ายกับ turnover rate ในงบดุลครับ
ยิ่งหมุนมากกำไรก็ยิ่งมาก(เรายังไม่พูดถึงความเสี่ยงนะ)
ผมติดตามพื้นฐานของหุ้นที่อยู่ใน watch list เสมอๆ
ผมมีหุ้นที่ติดตามผลกำไรทุกไตรมาส
ประมาณ 80 ตัว และหุ้นที่ติดตามแบบห่างๆอีกประมาณ 120 ตัว
รวมๆก็ครึ่งนึงของตลาดพอดี
ผมเชื่อว่า ยิ่งติดตามมาก
เราก็ยิ่งรู้พื้นฐานมากขึ้น ขอบข่ายความรู้มากขึ้น ยิ่งติดตามมาก
โอกาสที่จะเจอช้างเผือกก็สูง เวลามีข่าวสารเข้ามาเราก็รู้ทันทีว่า
เป็นข่าวดีหรือไม่ดี ซื้อหรือไม่ซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาข้อมูลอีก
ผมอ่านหนังสือพิมพ์หุ้นเกือบทุกฉบับ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ อ่านงานวิจัยของโบรคเกอร์ อีไฟแนนซ์
ข่าวตลาด และ tvi ประมาณนี้ครับ อ่านแบบสแกน
ถ้าเจอหุ้นที่น่าสนใจจะอ่านแบบละเอียด ไม่อย่างนั้นต้องใช้เวลาเยอะ
คือถ้าเราติดตามข่าวสารบ่อยๆเราจะรู้ว่าแหล่งข่าวไหนที่เราควรจะอ่านครับ
ที่จริงใช้เวลาวันละ 2 ชม.
ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการลงทุนแบบมุ่งเน้น(ผลตอบแทน) หรือวันละ 1 ชม.
สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นแบบการออม
ผมเคยทำงานประจำมาก่อน
ยอมรับว่ามีข้อจำกัดเยอะกว่าคนที่ลงทุนเต็มเวลา
และไม่สนับสนุนให้ทุกคนลาออกเพียงเพื่อจะได้มีเวลาหาข้อมูล
แต่เราก็ควรให้เวลากับการลงทุนตามสมควร
เพราะการใช้เวลาวันละเล็กละน้อยหลังเลิกงาน
หาข้อมูล อาจจะเปลี่ยนสถานะภาพทางด้านการเงิน เปลี่ยนชีวิตคนๆนึงได้เลย
ในขณะที่ถ้าทำงานประจำอย่างเดียวมีโอกาสน้อยกว่ามาก
ผมยังจำได้ดร.นิเวศน์เคยเขียนบทความทำนองว่า
เราใช้เวลาส่วนใหญ่วันๆไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ
และให้เวลาน้อยเกินไปกับเรื่องทีสำคัญที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)