พอดีผมอ่านเจอในงานเขียนของ Prof.Damodaran เรื่อง Valuation นะครับ เห็นว่าน่าสนใจดีครับ เลยเอามาแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนๆ
โดยเริ่มจากตอนแรก การประเมินมูลค่าหุ้น ( Valuation) โดยดูจากอัตราส่วนเชิงเปรียบเทียบ(Relative multiples) พวก P/E , P/B, EV/EBITDA ต่างๆ ตามตารางด้านล่างนี้
Attachment:
funndamentals_detemining_multiples.jpg [ 43.11 KiB | Viewed 3015 times ]
จากตารางจะเห็นว่า อัตราส่วนที่เป็นตัวกำหนดพื้นฐาน เช่น P/E จะมีตัวแปรคือ expected growth,payout,risk
ถ้าดูจากตารางจะเห็นว่า การที่จะมีค่า
P/E สูงขึ้น ก็จะมาจาก expected growth ที่สูงขึ้น หรือ payout (การปันผล) ที่สูงขึ้น หรือไม่ก็ risk ที่ต่ำลง
P/B สูงขึ้น ก็จะมาจาก คล้ายๆกับ P/E แต่มีเพิ่มคือ ROE ที่สูงขึ้น
ในตัวแปรเหล่านี้ จะมีตัวแปรพระเอกอยู่ตัวนึง ที่ Damodaran เรียกมันว่าเป็น companion variable เป็นตัวหลักที่พบว่าหากตัวแปรนี้มีค่าที่ผิดปกติ ตามตารางด้านล่าง จะทำให้เกิด valuation mismatch ขึ้น
Attachment:
companionvariables.jpg [ 40.06 KiB | Viewed 3015 times ]
ถ้าเราพบเงื่อนไข ตามตารางด้านบน เราก็อาจจะพบหุ้นต่ำมูลค่าหรือ undervalue แล้วก็ได้นะครับ เช่น หุ้นที่มี P/E ต่ำ แต่มี expected growth rate สูง(อันนี้ทุกคนน่าจะคุ้นเคยคือหุ้นที่มี PEG ต่ำ) หรือ หุ้นที่มี P/BV ต่ำ แต่ ROE สูง ( เลยไม่น่าแปลกใจเลย ที่หุ้นบางตัว trade กันที่ P/BV ต่ำมากๆ แต่ราคาหุ้นไม่ขึ้นเพราะตลาดไม่ปรับค่า P/BV ให้เพราะ ROE ต่ำเตี้ยติดดินเลย)
เผื่อบางคนที่กำลังหาหุ้นอยู่ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง อาจเอาไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นได้นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น